วิเคราะห์แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เพื่อพัฒนาการเมืองไทย
รหัสดีโอไอ
Creator ก้องภพ เอี่ยมสมบูรณ์
Title วิเคราะห์แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เพื่อพัฒนาการเมืองไทย
Contributor เกษฎา ผาทอง
Publisher มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
Publication Year 2567
Journal Title The Journal of Research and Academics
Journal Vol. 7
Journal No. 6
Page no. 325
Keyword การพัฒนาการเมืองไทย, การเมืองระบบธรรม, ธรรมิกสังคมนิยม
URL Website https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
Website title https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
ISSN ISSN 2672-9962 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดทางการเมืองของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) 2) วิเคราะห์แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เพื่อพัฒนาการเมืองไทย และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการเมืองไทยจากแนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 22 รูป/คน ได้แก่ พระภิกษุจำนวน 3 รูป นักวิชาการจำนวน 3 คน อุบาสก จำนวน 6 คน อุบาสิกา จำนวน 6 คน ประชาชนทั่วไปที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จำนวน 4 คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท สรุปการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาแนวคิดทางการเมืองของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นแนวความคิดที่มีคุณค่าทางด้านจิตใจ ระบบการเมืองใดก็ได้ถ้าหากประกอบด้วยธรรมแล้ว ถือว่าเป็นรูปแบบการเมืองที่ดีที่สุดในทัศนะของท่าน และแนวความคิดทางการเมืองแบบ “ธรรมิกสังคมนิยม” คือ สังคมที่มีธรรมะหรือความถูกต้อง มีอิสรภาพหรือความสงบสุข 2) ผลการวิเคราะห์แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เพื่อพัฒนาการเมืองไทย พบว่า เหตุการณ์ทางการเมืองมีบริบทการพัฒนาเกิดจากค่านิยม ทัศนคติ วิถีชีวิตการเข้ามาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจหรือผู้มีเงิน จึงทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งด้านทัศนคติ ผลประโยชน์ การแย่งชิงอำนาจ แนวทางการพัฒนาควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ส่งเสริมความเสมอภาค สร้างภูมิความรู้ให้กับประชาชนควบคู่กับการพัฒนาการเมือง และ 3) การวิเคราะห์แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เพื่อพัฒนาการเมืองไทย พบว่า การพัฒนาประชาธิปไตยของไทยโดยการจัดระบบการเมืองให้ถูกต้อง คือ ตั้งอยู่บนฐานของธรรมะ พัฒนาระบบศีลธรรม โดยอาศัยธรรมะเป็นหลักในการดำเนินชีวิต การพัฒนาจิตใจ ไม่ให้เป็นทางวัตถุ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ