![]() |
กระบวนการเข้าสู่การเป็นแรงงานถูกกฎหมายของแรงงานชาวกัมพูชาในประเทศไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ชนินทร สวณภักดี |
Title | กระบวนการเข้าสู่การเป็นแรงงานถูกกฎหมายของแรงงานชาวกัมพูชาในประเทศไทย |
Contributor | - |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | The Journal of Research and Academics |
Journal Vol. | 7 |
Journal No. | 6 |
Page no. | 307 |
Keyword | กฎหมาย, คนต่างด้าว, แรงงานชาวกัมพูชา |
URL Website | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
Website title | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
ISSN | ISSN 2672-9962 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการเข้าสู่การจ้างงานในประเทศไทยของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา และ 2) ศึกษากระบวนการทำให้แรงงานชาวกัมพูชาเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ มีการสังเกตและสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการกับผู้ให้ข้อมูลทั้ง 7 คน จำนวน 2 ครั้ง แล้วจึงทำการสัมภาษณ์กลุ่มกับแรงงานชาวกัมพูชาจำนวน 5 คน ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนายจ้าง และผู้ดูแลชุมชนแรงงานต่างด้าว เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวคำถาม 2 ชุดแยกระหว่างแรงงานและนายจ้างกับผู้ดูแล การวิเคราะห์ข้อมูลจัดทำระหว่างการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อค้นพบเพื่อสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1) การนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยในปัจจุบันอนุญาตให้มีตัวแทนช่วยดำเนินการ และให้นายจ้างออกค่าใช้จ่ายก่อนได้ โดยมีนายหน้าจากทั้งสองประเทศ และ 2) กระบวนการข้ามแดนเป็นขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินได้มากที่สุด นายจ้างมักใช้นายหน้าช่วยดำเนินการเพื่อความสะดวกและลดปัญหาทั้งกับเจ้าหน้าที่และแรงงาน ทำให้นายหน้ามีหลายประเภท และการเป็นแรงงานถูกกฎหมายส่งผลต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของแรงงานชาวกัมพูชา ขั้นตอนที่อาจนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาได้แก่ (1) การศึกษาความจำเป็นของระบบนายหน้า (2) การตรวจสอบการละเมิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ (3) ควรมีระบบจัดเก็บข้อมูลในประเทศไทยที่สามารถระบุตัวตนแรงงานต่างด้าวได้เองไม่ต้องรอเอกสารจากประเทศต้นทางทั้งหมด (4) ทิศทางในการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว สามารถเรียนรู้จากการบูรณาการแรงงานเข้าสู่สังคมจากประเทศที่มีนโยบายในกลุ่มรัฐสวัสดิการ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายได้แก่ พิจารณาการใช้นายหน้าที่ขึ้นทะเบียนเป็นรายบุคคล เน้นทำงานในพื้นที่ และศึกษาแนวทางจัดสวัสดิการแก่แรงงานเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตและสร้างการมีส่วนร่วมในสังคมไทย |