รูปแบบการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ในการส่งเสริมอาชีพปลูกมันหวานญี่ปุ่นของเกษตรกรในเขตเทศบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1
รหัสดีโอไอ
Creator อธิวัฒน์ นาวิศิษฏ์กร
Title รูปแบบการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ในการส่งเสริมอาชีพปลูกมันหวานญี่ปุ่นของเกษตรกรในเขตเทศบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1
Contributor ธนกฤต ทุริสุทธิ์, บุษกร สุขแสน
Publisher มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
Publication Year 2567
Journal Title The Journal of Research and Academics
Journal Vol. 7
Journal No. 6
Page no. 211
Keyword โมเดลเศรษฐกิจใหม่, มันหวานญี่ปุ่น, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1
URL Website https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
Website title https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
ISSN ISSN 2672-9962 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นไปได้และความต้องการประยุกต์ ใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ 2) ศึกษาการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ และ 3) ประเมินรูปแบบการประยุกต์ใช้รูปแบบเศรษฐกิจใหม่ในการส่งเสริมอาชีพปลูกมันหวานญี่ปุ่นของเกษตรกรในเขตเทศบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1) การแจกแบบสอบถามกับประชากรที่ใช้ในการวิจัยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกร จำนวน 400 คน 2) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 30 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุป และ 3) การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านที่เศรษฐกิจ และการเพาะปลูกมันหวานญี่ปุ่น จำนวน 30 คน ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้รูปแบบเศรษฐกิจใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเศรษฐกิจสีเขียว (gif.latex?ar{X} = 4.03, S.D. = 0.74) ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (gif.latex?ar{X} = 3.80, S.D. = 0.86) ส่วนความต้องการในการประยุกต์ใช้รูปแบบเศรษฐกิจใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเศรษฐกิจสีเขียว (gif.latex?ar{X} = 4.11, S.D. = 0.73) เมื่อพิจารณารายด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (gif.latex?ar{X} = 3.82, S.D. = 0.80) 2) การประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ มี 3 รูปแบบ ดังนี้ ด้านการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจสีเขียว ด้านการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียน ด้านการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจชีวภาพ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ขอบข่ายการพัฒนา กลวิธีการพัฒนา และวิธีการประเมิน และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ในการส่งเสริมอาชีพปลูกมันหวานญี่ปุ่นของเกษตรกรในเขตเทศบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ภาพรวมทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากทุกด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินที่มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไปทุกด้าน
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ