การพัฒนาสื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง รำวงมาตรฐาน
รหัสดีโอไอ
Creator ประวิทย์ ฤทธิบูลย์
Title การพัฒนาสื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง รำวงมาตรฐาน
Contributor มาโนช บุญทองเล็ก, อาทิตยา เงินแดง, นงนภัส สุขสบาย, ภัณฑิลา ทองประดับ, วิลาสินี ม่วงเจริญ, สันติสุขพลศรี
Publisher มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
Publication Year 2567
Journal Title The Journal of Research and Academics
Journal Vol. 7
Journal No. 6
Page no. 97
Keyword การพัฒนาสื่อการเรียนรู้, สื่อการเรียนรู้รำวงมาตรฐาน, อินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค
URL Website https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
Website title https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
ISSN ISSN 2672-9962 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค เรื่อง รำวงมาตรฐาน 2) ทดลองและหาประสิทธิภาพสื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการประยุกต์ใช้สื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 24 คน โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ใช้การวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ซึ่งลักษณะภายในกลุ่มตัวอย่างมีความคล้ายคลึงกัน โดยใช้หน่วยสุ่มเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย สื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค เรื่อง รำวงมาตรฐาน แบบประเมินคุณภาพสื่อ แบบประเมินความพึงพอใจ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาสื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค เรื่อง รำวงมาตรฐาน ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญประกอบด้วย ประวัติความเป็นมา รูปแบบการแสดง เครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี เนื้อร้อง และท่ารำจากการพิจารณาค่าความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าความสอดคล้องกัน โดยมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพสื่อ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 86.90/90.85 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการใช้สื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค การทดสอบก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.58 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.98 การทดสอบหลังเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.17 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.41 ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.93 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46 อยู่ในระดับมากที่สุด
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ