การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ
รหัสดีโอไอ
Creator วลิดา อุ่นเรือน
Title การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ
Contributor เอมอร วันเอก
Publisher มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
Publication Year 2567
Journal Title The Journal of Research and Academics
Journal Vol. 7
Journal No. 6
Page no. 49
Keyword การจัดการเรียนรู้เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล, ทักษะการจัดการเรียนรู้, ทฤษฎีการสร้างความรู้, รูปแบบการจัดการเรียนรู้
URL Website https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
Website title https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
ISSN ISSN 2672-9962 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาจารย์ผู้สอนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 9 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล 3) แบบบันทึกภาคสนามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติสอบทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการสร้างรูปแบบมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยให้อาจารย์ผู้สอนมีการแลกเปลี่ยนความคิด สร้างองค์ความรู้ใหม่และให้เกิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบในการจัดการเรียนการสอน 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล กิจกรรมการสอนมี 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง 2) ขั้นเรียนรู้เพื่อการตั้งกรอบโจทย์ 3) ขั้นการสร้างความคิด 4) ขั้นนำความรู้สู่การสร้างต้นแบบ 5) ขั้นวัดผลและประเมินผลเพื่อการทดสอบ ผลการประเมินรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (equation = 4.71, S.D.=0.52) และรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 84.91/84.42 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และ 3.1) ผลการประเมินทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลของอาจารย์ผู้สอนหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 90.91 สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) อาจารย์ผู้สอนมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม ใช้เทคนิคการจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ มีการปฏิสัมพันธ์กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ผลงานการคิดเชิงออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ