![]() |
การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งความสุขเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สิรินุช สายคูณ |
Title | การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งความสุขเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 |
Contributor | จิรศักดิ์ แซ่โค้ว, นันทพงศ์ หมิแหละหมัน |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | The Journal of Research and Academics |
Journal Vol. | 7 |
Journal No. | 6 |
Page no. | 17 |
Keyword | การบริหารสถานศึกษา, การพัฒนารูปแบบ, คุณภาพการจัดการศึกษา, องค์กรแห่งความสุข |
URL Website | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
Website title | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
ISSN | ISSN 2672-9962 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งความสุข 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งความสุข และ 3) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งความสุข กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 313 คน โดยการแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งความสุข มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งความสุข โดยการสนทนากลุ่มย่อยจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับการสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน โดยการแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าความเชื่อมั่น 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษา มีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการเป็นองค์กรแห่งความสุขโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งความสุขโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด 2) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งความสุข ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการเป็นองค์กรแห่งความสุข แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งความสุข และเงื่อนไขความสำเร็จ และ 3) ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด |