การบริหารเวลาของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
รหัสดีโอไอ
Creator สุภาวดี ไตรโยธี
Title การบริหารเวลาของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
Contributor บุญมี ก่อบุญ, วันเพ็ญ นันทะศรี
Publisher มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
Publication Year 2565
Journal Title The Journal of Research and Academics
Journal Vol. 5
Journal No. 6
Page no. 151-164
Keyword การบริหารเวลา, ประสิทธิผลโรงเรียน, ผู้บริหาร
URL Website https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
Website title https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
ISSN ISSN 2672-9962 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารเวลาของผู้บริหาร 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเวลาของผู้บริหารกับประสิทธิผลโรงเรียน 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของการบริหารเวลาที่มีต่อประสิทธิผลโรงเรียน และ 5) เสนอแนวทางพัฒนาการบริหารเวลาของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 343 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารเวลาของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ .63-.91 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ .55-.92 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารเวลาของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลโรงเรียน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเวลาของผู้บริหารกับประสิทธิผลโรงเรียน พบว่า โดยรวม มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) การบริหารเวลาของผู้บริหาร มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน เท่ากับ .809 หรือร้อยละ 80.90 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ .257 และ 5) การบริหารเวลาของผู้บริหาร ในโรงเรียนสังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ที่ควรได้รับการพัฒนา มีจำนวน 4 ด้าน คือ การตั้งเป้าหมาย การจัดลำดับความสำคัญของงาน การติดตามผลการใช้เวลา และการจัดองค์การ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ