การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับครูในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดราชบุรี
รหัสดีโอไอ
Creator พิมพา จันทาแล้ว
Title การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับครูในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดราชบุรี
Contributor มัสยา รุ่งอรุณ
Publisher มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
Publication Year 2565
Journal Title The Journal of Research and Academics
Journal Vol. 5
Journal No. 6
Page no. 137-150
Keyword หลักสูตร, แรงงานนอกระบบ, ความคิดสร้างสรรค์
URL Website https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
Website title https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
ISSN ISSN 2672-9962 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) พัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์สำหรับครูในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) พัฒนาสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์สำหรับครูในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 4) พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ครูในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดราชบุรี จาก 10 โรงเรียน โรงเรียนละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มาจากโรงเรียนที่ครูเป็นกลุ่มตัวอย่าง โรงเรียนละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร แบบทดสอบสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์สำหรับครู และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า ครูส่วนใหญ่มีการดำเนินการสอนงานประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์ในชั่วโมงชุมนุมคณิตศาสตร์ ชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ และครูต้องการอบรมเชิงปฏิบัติการงานประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2) ผลการพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย หลักสูตร วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการเสริมสมรรถนะด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการ สื่อ/อุปกรณ์ การวัดและการประเมินผล โดยผลการประเมินหลักสูตร พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?ar{X} = 4.26, S.D. = 0.41) 3) ผลการทดสอบสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์ พบว่า หลังการอบรมครูมีสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) หลังจากที่ครูได้รับการอบรมตามหลักสูตรและได้นำไปสอนให้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรเสริมสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์ นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ