![]() |
การประเมินโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพของสถานศึกษาเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ธัญญ์กนก ผดุงทรง |
Title | การประเมินโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพของสถานศึกษาเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร |
Contributor | ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | The Journal of Research and Academics |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 6 |
Page no. | 37-48 |
Keyword | การประเมินโครงการ, โครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ, สถานศึกษาเอกชนจังหวัดกำแพงเพชร |
URL Website | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
Website title | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
ISSN | ISSN 2672-9962 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพของสถานศึกษาเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร และ 2) หาแนวทางพัฒนาโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพของสถานศึกษาเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร ใช้การวิจัยในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ แหล่งข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร ครู บุคลากรในสถานศึกษาเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 108 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในสถานศึกษาเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 260 คน ซึ่งได้มาโดยการเปิดตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .976 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ และการจัดลำดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพของสถานศึกษาเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินตามเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความเหมาะสม 3 ด้าน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก คือ ด้านกระบวนการดำเนินงาน รองลงมา คือ ด้านผลผลิต และด้านปัจจัยเบื้องต้น ตามลำดับ และ 2) แนวทางการพัฒนาโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพของสถานศึกษาเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ทั้ง 3 ด้าน สรุปได้ดังนี้ 2.1) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ควรจัดให้มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตามนโยบายที่กระทรวงกำหนด 2.2) ด้านกระบวนการดำเนินงาน พบว่า โรงเรียนควรเป็นผู้จัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน และ 2.3) ด้านผลผลิต พบว่า สถานศึกษาไม่ควรจัดเก็บค่าใช้จ่ายกับผู้ปกครองในส่วนที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ |