![]() |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้ง ผู้บริหารท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สาวิตรี พินทรากุล |
Title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้ง ผู้บริหารท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ |
Contributor | พระครูโสภณกิตติบัณฑิต (บุญเสริม กิตฺติวณฺโณ) |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | Journal of Interdisciplinary Buddhism |
Journal Vol. | 3 |
Journal No. | 1 |
Page no. | R1028 |
Keyword | การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง, หลักอิทธิบาท 4 |
URL Website | https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij |
Website title | https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij |
ISSN | ISSN 2822-1222 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง 2) ศึกษาหลักอิทธิบาท 4 ต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จำนวน 368 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 รูป/หรือคน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาประกอบบริบท ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?ar{X} =3.34, S.D.=0.32) 2) องค์ประกอบของหลักอิทธิบาท 4 สามารถร่วมอภิปรายความผันแปรต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ได้ร้อยละ 46.00 โดยมีองค์ประกอบด้านจิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น (X13) ส่งผลมากที่สุด มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน (β) = 0.279 และ 3) ปัญหา อุปสรรค พบว่า ประชาชนมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่การเป็นพลเมืองต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองค่อยข้างน้อย ส่วนใหญ่ยังมีความนิยมในตัวบุคคล ความเป็นอิสระเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางการเมือง และมีความจำเป็นในการดำรงชีพ ทำให้เกิดการใช้สิทธิเลือกตั้งน้อย ข้อเสนอแนะ ควรมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นการสร้างกระบวนการรับรู้ การตระหนักรู้ให้กับประชาชน ควรส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ด้านข้อมูลข่าวสารการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งให้เข้าถึงสื่อส่วนบุคคล เปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างเหมาะสม ร่วมทั้งกระตุ้นให้ประชาชนเกิดการร่วมกลุ่มเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่น |