![]() |
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการ ตำรวจนครบาล 2 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ณัฐพล รัตน์สุภาพงศ์ |
Title | การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการ ตำรวจนครบาล 2 |
Contributor | สมจิต ขอนวงค์ |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | Journal of Interdisciplinary Buddhism |
Journal Vol. | 3 |
Journal No. | 1 |
Page no. | R1009 |
Keyword | การส่งเสริม, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ข้าราชการตำรวจ |
URL Website | https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij |
Website title | https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij |
ISSN | ISSN 2822-1222 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรม 7 กับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการตำรวจกองบังคับการตำรวจนครบาล 2 เป็นการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane และสุ่มแบบแบ่งชั้น จากจำนวนข้าราชการตำรวจกองบังคับการตำรวจนครบาล 2 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ 0.876 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ด้วยวิธี Enter Method และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน ด้วยวิธีการเลือกแบบ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบท ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักอปริหานิยธรรม 7 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการตำรวจกองบังคับการตำรวจนครบาล 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) หลักอปริหานิยธรรม 7 กับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการตำรวจกองบังคับการตำรวจนครบาล 2 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง (r = .567**) และ 3) ปัญหาอุปสรรคของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการตำรวจกองบังคับการตำรวจนครบาล 2 พบว่า ยังขาดการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสิทธิการเลือกตั้งตามกฎหมาย การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนผ่านสื่อออนไลน์มีข้อจำกัดมากเกินไป การส่งเสริมให้ประชาชนที่มีความรู้ความสามารถลงสมัครเลือกตั้งยังมีจำนวนน้อย และยังไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนอย่างเต็มที่ในการร่วมกำหนดนโยบายเพื่อรักษาผลประโยชน์ร่วมกัน ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรสร้างความสัมพันธ์กับประชาชนด้วยการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสิทธิการเลือกตั้งตามกฎหมาย รัฐ ยอมรับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองของประชาชนผ่านสื่อออนไลน์ ควรปลูกฝังวัฒนธรรมทางการเมืองที่ถูกต้องแก่ประชาชนและสนับสนุนประชาชนที่มีความรู้ความสามารถลงสมัครเลือกตั้งทุกระดับ |