![]() |
คุณภาพการให้บริการทางด้านกฎหมายแก่ผู้มารับบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพะเยา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วชิราพร ร่องเสอียบ |
Title | คุณภาพการให้บริการทางด้านกฎหมายแก่ผู้มารับบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพะเยา |
Contributor | - |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal of Interdisciplinary Buddhism |
Journal Vol. | 2 |
Journal No. | 4 |
Page no. | R0902 |
Keyword | คุณภาพการให้บริการ, ด้านกฎหมาย, จังหวัดพะเยา |
URL Website | https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij |
Website title | https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij |
ISSN | ISSN 2822-1222 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการทางด้านกฎหมายแก่ผู้มารับบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพะเยา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับคุณภาพการให้บริการทางด้านกฎหมาย 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการให้บริการทางด้านกฎหมาย โดยระเบียบวิธีวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสานวิธี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการแจกแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนผู้มารับบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพะเยา จำนวน 307 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 9 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพการให้บริการทางด้านกฎหมาย ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?ar{X} = 4.20,S.D.=0.59) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับคุณภาพการให้บริการทางด้านกฎหมาย โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูงมาก (r=.935**) ปัญหาอุปสรรค พบว่า 1) เจ้าหน้าที่ให้บริการทางด้านกฎหมายมีไม่เพียงพอ 2) สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพะเยา มีพื้นที่ในการอำนวยความสะดวกค่อนข้างน้อย 3) มีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอจึงทำให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการ 4) ขาดบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านกฎหมายและการให้บริการที่ทันสมัยมีไม่เพียงพอ 5) มีการแนะนำรายละเอียดขั้นตอนการใช้บริการที่ไม่ตรงตามความต้องการของประชาชนและไม่เข้าใจในการให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ พบว่า 1) ควรจัดหาบุคลากรที่มีความเหมาะสมมีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญในเรื่องกฎหมาย 2) ควรบริหารจัดการพื้นที่ในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้มารับบริการ 3) จัดหาบุคลากรที่มีความรู้ด้านกฎหมายให้มากพอเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าและเกิดความรวดเร็วในการให้บริการ 4) ควรมีการอบรมหรือเพิ่มทักษะความรู้ทางด้านกฎหมายแก่เจ้าหน้าที่ 5) เจ้าหน้าที่ควรมีการแนะนำอธิบายรายละเอียดขั้นตอนการใช้บริการและให้คำปรึกษาที่ถูกต้องชัดเจน |