![]() |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อ K-level และคุณภาพชีวิตในคนพิการตัดขาระดับใต้เข่าที่ได้รับขาเทียมระดับใต้เข่าจากโรงพยาบาลศิริราช |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | 1. ปวีณา เอกวัฒนาพล 2. มาริษา อมาตยกุล 3. เขมิสา เองมหัสสกุล 4. ธนกร ธรรมกรสุขศิริ |
Title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อ K-level และคุณภาพชีวิตในคนพิการตัดขาระดับใต้เข่าที่ได้รับขาเทียมระดับใต้เข่าจากโรงพยาบาลศิริราช |
Publisher | Mahidol University |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | Mahidol R2R e-Journal |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 36-50 |
Keyword | คนพิการตัดขาระดับใต้เข่า, ขาเทียมระดับใต้เข่า, คุณภาพชีวิตด้านสังคม, ระดับความสามารถ |
URL Website | https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/ |
Website title | Mahidol R2R e-Journal |
ISSN | 23925515 |
Abstract | บทนำ: ปัจจุบันคนพิการตัดขาระดับใต้เข่ามีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสาเหตุการตัดขาส่วนใหญ่มาจากโรคเบาหวานส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย การทรงตัว การรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อและการยึดติดของข้อเข่า เป็นต้น ดังนั้นการสวมใส่ขาเทียมจะช่วยให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และหากได้รับขาเทียมที่เหมาะสมกับระดับความสามารถในการเคลื่อนไหวยิ่งส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งๆขึ้นไป ซึ่งปัจจุบัน K-level ถูกนำมาใช้ในการเลือกส่วนประกอบของขาเทียม โดยการประเมินจากแพทย์ แต่ยังไม่มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าปัจจัยใดที่ส่งผลต่อ K-level และคุณภาพชีวิตในคนพิการตัดขาระดับใต้เข่า วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อ K-level และคุณภาพชีวิตคนพิการตัดขาระดับใต้เข่าที่ได้รับขาเทียมจากโรงพยาบาลศิริราช วิธีการวิจัย: การศึกษาภาคตัดขวาง (Cross-sectional Study) เชิงวิเคราะห์ (analytic) ผู้ที่ตัดขาระดับใต้เข่าจำนวน 113 รายที่ผ่านตามเกณฑ์การคัดเข้า จากการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมวิจัยได้แบ่งข้อมูลออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป แบบสำรวจลักษณะการใช้ขาเทียมในปัจจุบัน และแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ Independent-Samples Kruskal-Wallis Test สำหรับการเปรียบเทียบเชิงคู่ของ K-level และ Multiple Linear Regression Analysis สำหรับคุณภาพชีวิตด้านสังคม ผลการศึกษา: ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสามารถของผู้เข้าร่วมวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ, ระยะทางการเดินในหนึ่งวันและระดับคุณภาพชีวิตทางด้านสังคม และปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิตทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ การที่ผู้ป่วยไม่เป็นโรคเบาหวานและมีระยะเวลาที่ใช้ขาเทียมระดับใต้เข่าภายหลังตัดขาที่มากกว่า (ปี) สรุปผลการศึกษา: |