ความคาดหวังในการเข้ารับบริการของผู้ป่วยที่มารับการรักษา โรคข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
รหัสดีโอไอ
Creator 1. รังสิมา เกียรติยุทธชาติ
2. พิมพ์รัตน์ ชาญปรีชญา
3. ธนพล จันทรพร
4. ชลภัสสรณ์ เอื้อธนิกกานนท์
Title ความคาดหวังในการเข้ารับบริการของผู้ป่วยที่มารับการรักษา โรคข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
Publisher Mahidol University
Publication Year 2568
Journal Title Mahidol R2R e-Journal
Journal Vol. 12
Journal No. 1
Page no. 112-126
Keyword ประสบการณ์ของผู้ป่วย, ความคาดหวังของผู้ป่วย, การผ่าตัดเปลี่ยนหัวข้อเข่าเทียม
URL Website https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/
Website title Mahidol R2R e-Journal
ISSN 23925515
Abstract การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้ป่วยในกระบวนการเข้ารับบริการของผู้ป่วยที่มารับการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty :TKA) ผู้ร่วมให้ข้อมูลคือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีค่าความเสื่อมระดับรุนแรง Level 4 และต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม : Total Knee Arthroplasty และมีประสบการณ์มาใช้บริการที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกศัลยกรรมกระดูกตั้งแต่เข้ารับบริการ พบแพทย์ เตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด ได้รับการผ่าตัดและมาพบแพทย์หลังผ่าตัดตามนัด 2 สัปดาห์ ผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น 8 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) กระบวนการเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi- Structured interview) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมีความคาดหวังในกระบวนการเข้ารับบริการทั้งหมด 4 ด้าน คือ 1) ความคาดหวังด้านบุคลากรทางการแพทย์ ที่ผู้ป่วยคาดหวังให้แพทย์และบุคลากรมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้การรักษากับผู้ป่วย ต้องการรักษากับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ และคาดหวังการได้รับบริการที่ดีผ่านทางพฤติกรรม วาจา กิริยาท่าทางที่เหมาะสม 2) การเตรียมตัวผ่าตัดอย่างถูกต้องเหมาะสม ที่ผู้ป่วยคาดหวังว่าจะได้วันรับการผ่าตัดที่รวดเร็วและแน่นอน รวมไปถึงการได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดที่ครบถ้วนถูกต้อง 3) การดูแลช่วยเหลือและการดูแลตนเอง ผู้ป่วยต้องการรับฟังข้อมูลและวิธีปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเมื่อต้องกลับไปพักรักษาตัวที่บ้าน 4) ผลลัพธ์ทางการรักษา คือ การหายจากโรคและไม่มีผลข้างเคียงหลังการผ่าตัด ตลอดจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข
Mahidol R2R e-Journal

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ