![]() |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา(ปริญญาโท) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | 1. นิภา ภิญโญเสริมรัตน์ 2. กชพร บุญก่อสร้าง 3. นงนุช พันธุตา 4. ฉัตรชัย เหมือนประสาท |
Title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา(ปริญญาโท) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล |
Publisher | Mahidol University |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Mahidol R2R e-Journal |
Journal Vol. | 11 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 86-100 |
Keyword | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษา, ระยะสำเร็จการศึกษา, ระดับปริญญาโท, นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา |
URL Website | https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/ |
Website title | Mahidol R2R e-Journal |
ISSN | 23925515 |
Abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาของการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาตามแผนการศึกษาและนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาเกินระยะเวลาแผนการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจจากผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2560 – 2564 จำนวน 205 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคำนวณค่าทางสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาของการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท) เป็นปัจจัยที่เป็นปัญหาในระดับมาก ทั้ง 5 ด้าน โดยเรียงตามลำดับมากที่สุดไปถึงน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์และความสะดวกในการติดต่อหรือช่องทางการติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ("x" ?= 4.49) รองลงมาด้านนักศึกษา ("x" ?= 4.45) ด้านการดำเนินการทำวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์และการเผยแพร่ผลงานของนักศึกษา ("x" ?= 4.36) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ("x" ?= 4.26) และด้านการบริการแหล่งค้นคว้าทางวิชาการ ("x" ?= 4.16) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาตามแผนการศึกษาและเกินแผนการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติระดับ 0.05 ประกอบด้วย 1) ประสบการณ์ในการทำวิจัยก่อนเข้าศึกษาระดับปริญญาโท 2) ด้านการบริการแหล่งค้นคว้าทางวิชาการ 3) ด้านการทำวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์และการเผยแพร่ผลงานของนักศึกษา ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการออกแบบระบบการสนับสนุนและติดตามความก้าวหน้าของนักศึกษาเพื่อให้สำเร็จการศึกษาตามแผนการศึกษาของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา |