![]() |
การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจพฤติกรรมบริการแบบเอื้ออาทรผู้สูงอายุของบุคลากรโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | 1. สมสมัย ศรีประไหม 2. มยุรี ลี่ทองอิน 3. อุไรวรรณ ใจจังหรีด 4. กนกกาญจน์ กองพิธี 5. เฉลิมชาติ แก้วอุดม 6. สุภาภรณ์ รูปหล่อ |
Title | การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจพฤติกรรมบริการแบบเอื้ออาทรผู้สูงอายุของบุคลากรโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
Publisher | Mahidol University |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Mahidol R2R e-Journal |
Journal Vol. | 11 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 63-74 |
Keyword | พฤติกรรม, บริการแบบเอื้ออาทรผู้สูงอายุ, บุคลากร |
URL Website | https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/ |
Website title | Mahidol R2R e-Journal |
ISSN | 23925515 |
Abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมบริการแบบเอื้ออาทรผู้สูงอายุของบุคลากรของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามประเภทของกลุ่มปฏิบัติงาน บุคลากรสายสนับสนุน ประกอบด้วย กลุ่มเจ้าหน้าที่รักษาพยาบาล ได้แก่ ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานการแพทย์ พนักงานเวรเปล และกลุ่มเจ้าหน้าที่บริการโรงพยาบาล จำนวน 478 คน ระหว่าง กุมภาพันธ์ 2564 ถึง เมษายน 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินพฤติกรรมการบริการเอื้ออาทรผู้สูงอายุตามกลุ่มปฏิบัติงาน 4 ฉบับมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับเท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นอยู่ในช่วง 0.88-0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 74.5) อายุระหว่าง 20 -30 ปี (ร้อยละ 31.2) ประสบการณ์ทำงานที่โรงพยาบาล 1-5 ปี (ร้อยละ 40.2) มีประสบการณ์ดูแลผู้สูงอายุ (ร้อยละ 65.9) ไม่เคยผ่านการอบรมการดูแลผู้สูงอายุ (ร้อยละ 79.5) มีความเชื่อมั่นในการบริการแบบเอื้ออาทรผู้สูงอายุของตนเองทั้งระดับมากและระดับมากที่สุด (ร้อยละ 35.4 และ 35.4) โดยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมบริการแบบเอื้ออาทรผู้สูงอายุของบุคลากรทั้งกลุ่มเจ้าหน้าที่รักษาพยาบาล และกลุ่มเจ้าหน้าที่บริการโรงพยาบาลในภาพรวมอยู่ในระดับบ่อยครั้ง โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ผู้ช่วยพยาบาล (M = 4.38, SD =0.53) พนักงานเวรแปล (M = 4.34, SD =0.43) พนักงานการแพทย์ (M = 4.20, SD =0.52) และเจ้าหน้าที่บริการโรงพยาบาล (M = 4.04, SD =0.82) ตามลำดับ บทสรุป พฤติกรรมบริการแบบเอื้ออาทรผู้สูงอายุตามการรับรู้ของบุคลากร พบว่ามากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผลการศึกษานี้ควรใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะการบริการเอื้ออาทรผู้สูงอายุของบุคลากรของโรงพยาบาลต่อไป |