การศึกษาตัวทำละลายที่เหมาะสมสำหรับการละลายไทมอลเพื่อใช้ในทางทันตกรรม
รหัสดีโอไอ
Creator 1. ศรุต ไทยรัตน์
2. ธนัฏฐา วุตติหาสะ
3. พีรพงษ์ ตัวงาม
4. สุภาวิดา ขุนลึก
Title การศึกษาตัวทำละลายที่เหมาะสมสำหรับการละลายไทมอลเพื่อใช้ในทางทันตกรรม
Publisher Mahidol University
Publication Year 2567
Journal Title Mahidol R2R e-Journal
Journal Vol. 11
Journal No. 3
Page no. 1-12
Keyword ไทมอล, การละลาย, การใช้ในทางทันตกรรม
URL Website https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/
Website title Mahidol R2R e-Journal
ISSN 23925515
Abstract ไทมอลมีฤทธิ์ต้านจุลชีพอย่างกว้างขวาง จากคุณสมบัติทางชีวภาพดังกล่าว คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงนำมาเตรียมเป็นผลิตภัณฑ์ไทมอลความเข้มข้น 0.1% (น้ำหนัก/ปริมาตร) เพื่อเก็บรักษาตัวอย่างฟันสำหรับงานวิจัย เนื่องจากไทมอลละลายน้ำได้ค่อนข้างน้อย การเตรียมผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงใช้เวลานาน ทำให้เกิดความขาดแคลนผลิตภัณฑ์ในบางช่วงเวลา งานวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะลดระยะเวลาสำหรับการเตรียมผลิตภัณฑ์ โดยยังคงคุณสมบัติและตัวยาสำคัญ รวมถึงค้นหาความเข้มข้นที่เหมาะสมของตัวทำละลายสำหรับไทมอล และความเข้มข้นของไทมอลภายหลังการละลาย การศึกษานี้วิเคราะห์ระยะเวลาสำหรับเตรียมสารละลาย 0.1% ไทมอล และปริมาณที่น้อยที่สุดของ EtOH (55%, 75%, 95% และ absolute) ซึ่งใช้เป็นตัวทำละลายสำหรับไทมอล และใช้เครื่อง High Performance Liquid Chromatography (HPLC) เพื่อหาปริมาณของสารประกอบสำคัญของสารละลายไทมอลปริมาตรน้อยที่สุดสำหรับ EtOH ณ ความเข้มข้นต่าง ๆ ที่ใช้ละลายไทมอลได้อย่างสมบูรณ์ คือ 3 มล. (ต่อปริมาตรรวม 100 มล.) นอกจากนี้การวิเคราะห์ด้วย HPLC แสดงให้เห็นว่า ปริมาณไทมอลในสารละลายที่เตรียมไว้ คือ 0.079%, 0.089%, 0.087%, 0.087% และ 0.086% ของ DIW, 55%, 75%, 95% และ Absolute alcohol ตามลำดับ สรุปผลงานวิจัย คือ สารละลาย 0.1% ไทมอลที่เตรียมจาก EtOH ความเข้มข้นต่าง ๆ มีปริมาณของไทมอลสูงกว่าแบบที่เตรียมจาก DIW สูตรเตรียมสารละลายไทมอลนี้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอด เพื่อนำไปใช้ในอนาคตได้
Mahidol R2R e-Journal

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ