![]() |
การพัฒนาแบบจำลองธุรกิจแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองเชียงกลาง อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | น้ำฝน รักประยูร |
Title | การพัฒนาแบบจำลองธุรกิจแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองเชียงกลาง อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน |
Contributor | สุวิทย์ โชตินันท์, พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์, ฑีฆา โยธาภักดี |
Publisher | คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal of Management Science |
Journal Vol. | 17 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 28-40 |
Keyword | แบบจำลองธุรกิจ, ไก่พื้นเมือง, คุณค่าของสินค้า, การมีส่วนร่วม |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMMS |
Website title | เว็บไซต์วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่ |
ISSN | 2673-0367 |
Abstract | "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองธุรกิจของกลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองเชียงกลาง อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน โดยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างใช้แบบเจาะจง จำนวน 14 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และการอภิปรายกลุ่มย่อย การเก็บข้อมูลมี 3 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินรูปแบบธุรกิจปัจจุบัน 2) จัดทำแบบจำลองธุรกิจ 3) จัดทำแผนปฏิบัติการและประเมินผล ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มมีศักยภาพปานกลาง มีการเลี้ยงไก่ขุน 1,000 -1,200 ตัว/ฟาร์ม กำลังพัฒนาเข้าสู่มาตรฐาน GAP การวิเคราะห์ SWOT พบว่า จุดแข็ง ได้แก่ มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จุดอ่อน ได้แก่ ขาดโรงเชือดที่มีมาตรฐาน โอกาส ได้แก่ มีเครือข่ายผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง อุปสรรค ได้แก่ ต้นทุนค่าอาหารสัตว์เพิ่มสูงขึ้นและกฎหมาย ผลการออกแบบจำลองธุรกิจ 9 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) กลุ่มลูกค้า คือ พ่อค้าส่งและตลาดชุมชน (2) การนำเสนอคุณค่า คือ ไก่พื้นเมือง เลี้ยงแบบปลอดภัย มีให้เลือกหลากหลาย ส่งมอบตรงเวลา สร้างเสริมคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรน่าน (3) ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า คือ ร้านของกลุ่มเกษตรกร (4) ความสัมพันธ์กับลูกค้า มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ (5) กระแสรายได้ มาจากการจำหน่ายไก่ชำแหละ ร้อยละ 80 (6) ทรัพยากรหลัก คือ คน เงิน วัตถุดิบ และการบริหารจัดการ (7) กิจกรรมหลัก คือ การผลิตไก่และการชำแหละ (8) พันธมิตรหลัก คือ หน่วยงานภาครัฐ เครือข่ายผู้เลี้ยงไก่ (9) โครงสร้างต้นทุน คือ ต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร ผลการประเมินแบบจำลองธุรกิจ พบว่า กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ การขายส่งไก่ชำแหละ เดือนตุลาคมถึงมกราคมจะมีความต้องการสูง การขายปลีกในชุมชนมีกำไรสูงกว่าการขายส่ง ร้อยละ 20 จึงควรมุ่งเน้นการขายปลีกและสร้างการรับรู้ในชุมชน" |