การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์
รหัสดีโอไอ
Creator หทัยรัตน์ หอมไกรลาศ
Title การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Contributor พรประภา ชุนถนอม, วิวัฒน์ ศรีวิชา, เดือนรุ่ง สุวรรณโสภา, อนุชาวดี ไชยทองศรี, โสภิดา สัมปัตติกร
Publisher คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
Publication Year 2567
Journal Title Journal of Management Science
Journal Vol. 17
Journal No. 2
Page no. 53-66
Keyword รูปแบบการท่องเที่ยว, กระบวนการมีส่วนร่วม, การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล, เศรษฐกิจสร้างสรรค์
URL Website https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMMS
Website title เว็บไซต์วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่
ISSN 2673-0367
Abstract "การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการพื้นที่ 4 ตำบล (ขมิ้น-นาหัวบ่อ-ไร่-วังยาง) อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ 2) สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานทุนทรัพยากรวัฒนธรรมในพื้นที่ 4 ตำบล การวิจัยมี 5 ขั้น ตามทฤษฎี ADDIE Model กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 114 คน ประกอบด้วย 1) ผู้นำชุมชน จำนวน 64 คน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน และ 4) นักท่องเที่ยว จำนวน 20 คน คัดเลือกโดย Simple Random Sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสำรวจบริบทของชุมชน 4 ตำบล 2) แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา 3) แบบประเมินความพึงพอใจของกิจกรรมในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการพื้นที่ 4 ตำบล ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ระยะที่ 1ศึกษาบริบทชุม พบว่าทรัพยากรธรรมชาติ คือ เทือกเขาภูพาน สถานที่ท่องเที่ยวมีอ่างเก็บน้ำห้วยทราย-ขมิ้น พระธาตุภูเพ็ก วัดถ้ำขาม ผลิตภัณฑ์เด่น คือ ผ้าคราม วัฒนธรรมฮีตสิบสองคลองสิบสี่ คนในพื้นที่ชนเผ่าภูไท ลาว ที่พักลักษณะโฮมสเตย์ อาหารประจำถิ่นตามช่วงฤดูกาลและมีอัตลักษณ์ที่ โดดเด่น คือ ภาษาภูไท วัฒนธรรมการแต่งกาย ระยะที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการพื้นที่ 4 ตำบล ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ได้องค์ประกอบดังนี้ 1) โครงสร้างพื้นฐาน: Infrastructure 2) ผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก: Product 3) เจ้าบ้านที่ดี อาหาร: Good host Food 4) เส้นทางท่องเที่ยว 4 ตำบล: Tourism program 5) กิจกรรมท่องเที่ยว:Tourism activities และ 6) สื่อประชาสัมพันธ์: Story telling รวมเรียกว่า IP2TS Model ระยะที่ 3 การพัฒนาคู่มือรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการพื้นที่ 4 ตำบล พบว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของคู่มือรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการพื้นที่ 4 ตำบล ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (""X"" ̅ = 4.15 , S.D = 0.67) ระยะที่ 4 ทดลองใช้รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการพื้นที่ 4 ตำบล ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล พบว่า ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อกิจกรรมตามรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการพื้นที่ 4 ตำบล ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (""X"" ̅ = 4.60 , S.D = 0.48) และ ระยะที่ 5 การประเมินผลรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาแบบบูรณาการพื้นที่ 4 ตำบล ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล พบว่า โดยรวมมี ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (""X"" ̅ = 4.76 , SD = 0.44)"
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ