![]() |
ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกสำนึกขอบคุณ ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และกลยุทธ์การรับมือความเครียดในเยาวชน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กรรัตน์ เสมาทอง |
Title | ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกสำนึกขอบคุณ ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และกลยุทธ์การรับมือความเครียดในเยาวชน |
Contributor | ธิดารัตน์ ปุรณชัยคีรี, วัลลภ อัจสริยะสิงห์ |
Publisher | กรมสุขภาพจิต |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย |
Journal Vol. | 33 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 60-69 |
Keyword | กลยุทธ์การรับมือความเครียด, ความรู้สึกสำนึกขอบคุณ, ความเมตตากรุณาต่อตนเอง, เยาวชน |
URL Website | https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht |
ISSN | 3057-1553 |
Abstract | วัตถุประสงค์ : เพื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกสำนึกขอบคุณ ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และกลยุทธ์การรับมือความเครียดในเยาวชนไทย ; วิธีการ : การศึกษาภาคตัดขวางแบบออนไลน์ ในวัยรุ่นตอนปลายอายุ 18 - 21 ปีที่กำลังศึกษาในสถาบันการศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป มาตรวัดความกตัญญู มาตรวัดความเมตตากรุณาต่อตนเอง และมาตรวัดกลยุทธ์ในการรับมือกับความเครียดแบบสั้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ; ผล : กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามครบ 434 คน ส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุ 21 ปี และศึกษาอยู่สถาบันของรัฐบาล มีค่าเฉลี่ยความรู้สึกสำนึกขอบคุณ 29.04 (SD = 5.20) ความเมตตากรุณาต่อตนเอง 19.92 (SD = 2.99) กลยุทธ์การรับมือที่เหมาะสม 48.31 (SD = 7.33) และกลยุทธ์การรับมือที่ไม่เหมาะสม 29.93 (SD = 5.58) ความรู้สึกสำนึกขอบคุณมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความเมตตากรุณาต่อตนเอง (r = .31, p < .001) มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับกลยุทธ์การรับมือที่เหมาะสม (r = .36, p < .001) และมีความสัมพันธ์ทางลบระดับเล็กน้อยกับกลยุทธ์การรับมือที่ไม่เหมาะสม (r = -.20, p < .001) ; สรุป : เยาวชนที่มีความรู้สึกสำนึกขอบคุณสูงมีแนวโน้มมีความเมตตากรุณาต่อตนเองและใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมในการรับมือกับความเครียด ควรส่งเสริมความรู้สึกสำนึกขอบคุณของเยาวชนด้วยกิจกรรมที่เข้าถึงได้ง่าย เพื่อช่วยพัฒนาทักษะการดูแลจิตใจตนเองและการรับมือกับความเครียด |