![]() |
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ชนิดของคำในภาษาไทย ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองขาม (ค่ายเสนีย์อุปถัมภ์) |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | มานะ โสภา |
Title | การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ชนิดของคำในภาษาไทย ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองขาม (ค่ายเสนีย์อุปถัมภ์) |
Contributor | กัญญารัตน์ บุตดีหัต, เฟื่องฟ้า ผ่านแสนเสาร์ |
Publisher | มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 41-54 |
Keyword | บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน, ชนิดของคำในภาษาไทย |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/jliwu |
Website title | วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
ISSN | 2408-2483 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ชนิดของคำในภาษาไทย ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองขาม (ค่ายเสนีย์อุปถัมภ์) 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนบ้านหนองขาม (ค่ายเสนีย์อุปถัมภ์) จำนวน 26 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 2) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3แบบทดสอบย่อย เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีลักษณะเป็นแบบประเมิน แบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และสถิติทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระจากกันผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.41/84.62 2) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยรวมอยู่ในระดับพอใจมาก ( ค่าเฉลี่ย=4.00, S.D. = 0.95) |