![]() |
การรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กาญจนา หฤหรรษพงศ์ |
Title | การรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
Publisher | มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 27-40 |
Keyword | การรู้ดิจิทัล, เทคโนโลยีสารสนเทศ, พฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/jliwu |
Website title | วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
ISSN | 2408-2482 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยจำแนกตามหลักสูตร กลุ่มสาขาวิชา และสำนักวิชา 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผล การสอบวัดการรู้ดิจิทัล 3) หาความสัมพันธ์ของระดับการรู้ดิจิทัลกับผลสัมฤทธิ์ในการเรียน 4) ศึกษาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลแก่ผู้เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดการรู้ดิจิทัล และแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 1,220 คน โดยนำผลการสอบวิเคราะห์ร่วมกับแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สอบ ทำการคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าไคว์สแควร์และค่าสถิติสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่าผู้เข้าสอบร้อยละ 73.77 สอบผ่านที่คะแนน 50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป การจำแนกผู้ที่สอบผ่านตามช่วงคะแนนพบว่า ส่วนใหญ่มีระดับการรู้ดิจิทัลต่ำที่คะแนน 50-54 เปอร์เซ็นต์ (ร้อยละ 30.92) รองลงมาคือคะแนน 55-59 เปอร์เซ็นต์ (ร้อยละ 27.92) ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมในการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ได้แก่ หลักสูตร สำนักวิชา เกรดเฉลี่ยของวิชากลุ่มคอมพิวเตอร์ จำนวนชั่วโมงในการใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อวัน และลักษณะกิจกรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังพบว่าระดับการรู้ดิจิทัลของผู้เรียนมีความสัมพันธ์กับเกรดเฉลี่ยของผู้เรียนในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ (r = 0.393) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ข้อเสนอแนะจากผู้ที่สอบไม่ผ่านต้องการให้จัดอบรมเสริม (ร้อยละ 60.78) และมีระบบออนไลน์เพื่อเรียนรู้ด้วยตนเอง (ร้อยละ 24.43) ส่วนอุปสรรคต่อการรู้ดิจิทัลที่สำคัญ คือ ปัญหาอินเทอร์เน็ตมหาวิทยาลัยช้า (ร้อยละ 76.70) และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีปัญหา (ร้อยละ 74.78) |