![]() |
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ในรายวิชาปฏิบัติการเคมี 2 หัวข้อการเตรียมสารละลาย ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ประกิต ไชยธาดา |
Title | การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ในรายวิชาปฏิบัติการเคมี 2 หัวข้อการเตรียมสารละลาย ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช |
Publisher | มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 55-64 |
Keyword | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, การเตรียมสารละลาย |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/jliwu |
Website title | วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
ISSN | 2408-2484 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ในรายวิชาปฏิบัติการเคมี 2 หัวข้อการเตรียมสารละลาย ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบไปด้วย 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานร่วมกัน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนมีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยผลการวิจัย พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้เรียนมีการเรียนรู้ทักษะการทำงานเป็นทีมโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 +- 0.57 ผู้เรียนตระหนักว่าความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของสมาชิกทุกคน ได้ฝึกทักษะการสังเกต การจดบันทึก ตามความเหมาะสมของหน้าที่แต่ละบุคคล ผู้เรียนมีความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 +- 0.55 การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือช่วยเพิ่มทักษะการทำงานเป็นทีม การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเสริมสร้างโอกาสปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาด้วยกัน ทำให้งานสำเร็จได้เร็วขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนทำข้อสอบวัดผลได้มากขึ้น บรรลุเป้าหมายของการเรียน และช่วยให้ผู้เรียนสามารถจดจำเนื้อหาสาระได้ดียิ่งขึ้น |