![]() |
การพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงของไม้ยืนต้นขั้นพื้นฐาน : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ศุภวัจน์ แก้วขาว |
Title | การพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงของไม้ยืนต้นขั้นพื้นฐาน : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต |
Contributor | มานัส ศรีวณิช |
Publisher | Thai Association of Landscape Architects |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal of Landscape Architecture and Planning |
Journal Vol. | 6 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 276630 |
Keyword | การประเมินความเสี่ยงไม้ยืนต้น, การประเมินความเสี่ยงไม้ยืนต้นขั้นพื้นฐาน, ระดับความเสี่ยงไม้ยืนต้น, การประเมินไม้ยืนต้นทางสายตา |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAJ/index |
Website title | ThaiJO |
ISSN | 3027-8503 (Online) |
Abstract | การประเมินความเสี่ยงไม้ยืนต้นถือได้ว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ข้อมูลและวิธีการประเมินยังคงต้องอาศัยความรู้จากต่างประเทศเป็นหลัก แต่สภาพแวดล้อมและพรรณไม้ของต่างประเทศกับประเทศไทยนั้นมีความแตกต่างมาก หากนำเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวมาใช้งานโดยตรงอาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ ประกอบกับปัจจัยในการประเมินมีจำนวนมากและวิธีการให้ค่าระดับของความเสี่ยงมีความซับซ้อนทำให้การประเมินความเสี่ยงของไม้ยืนต้นจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ ดังนั้นจึงมีแนวคิดในการคัดเลือกตัวแปรที่สำคัญต่อการประเมินความเสี่ยงไม้ยืนต้นและนำมาพัฒนาเป็นแบบประเมินความเสี่ยงไม้ยืนต้นอย่างง่าย โดยการพัฒนาแบบประเมินได้นำปัจจัยที่มาจากการทบทวนวรรณกรรม 35 ปัจจัยมาคัดเลือกโดยผู้เชี่ยวชาญด้านรุกขกรรม 3 ท่าน แล้ววิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity Analysis) ด้วยการคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence, IOC) พบ 30 ปัจจัยที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าเป็นปัจจัยที่จำเป็นเพื่อพัฒนาเป็นแบบประเมินความเสี่ยงของไม้ยืนต้นขั้นพื้นฐาน และนำไปพิสูจน์ความแม่นยำในการประเมินกับไม้ยืนต้นจำนวน 442 ต้นเปรียบเทียบระหว่างรุกขกรวิชาชีพกับอาสาสมัครบริเวณหอพักนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต พบค่าความถูกต้องโดยรวม (Overall Accuracy) มีค่าสัมประสิทธิ์แคปปา (Kappa Coefficient) เฉลี่ยที่ 0.72 หรือ 72% และมีเพียง 2 ปัจจัย ได้แก่ ระยะปลูกและแนวรับลม ที่พบความสอดคล้องของสถิติ Inter-Rater Reliability (IRR) ที่น้อยกว่า 0.20 จึงปรับไปใช้ตัวแปร Slenderness Coefficient (SC) แทนความมั่นคงของไม้ยืนต้น และ Live Crown Ratio (LCR) แทนสุขภาพโดยรวม จากตัวแปรทั้งหมดนำไปสู่แบบประเมินความเสี่ยงไม้ยืนต้นขั้นพื้นฐานที่ประกอบไปด้วยข้อมูลในการประเมิน 3 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไปในการสำรวจ ข้อมูลส่วนเหนือดิน ข้อมูลส่วนผิวดินและใต้ดิน |