![]() |
การพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างยั่งยืนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ชวาพร ศักดิ์ศรี |
Title | การพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างยั่งยืนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ |
Publisher | Thai Association of Landscape Architects |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal of Landscape Architecture and Planning |
Journal Vol. | 6 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 276603 |
Keyword | การพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างยั่งยืน, การท่องเที่ยวสัตว์ป่า, พื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAJ/index |
Website title | ThaiJO |
ISSN | 3027-8503 (Online) |
Abstract | บทความวิชาการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการท่องเที่ยวสัตว์ป่าในด้านการวางแผน การออกแบบและจัดการภูมิทัศน์และสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างยั่งยืนสำหรับพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ ครอบคลุมข้อมูลจากงานวิจัยที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงกรณีศึกษาในต่างประเทศและประเทศไทย การศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดตำแหน่งพื้นที่กิจกรรมและการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งอำนวยความสะดวกประกอบด้วย 1) ศักยภาพและคุณค่าด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพของแหล่งท่องเที่ยว 2) บริบทของถิ่นอาศัยด้านเวลา 3) ประเภทและชนิดพันธุ์สัตว์ป่า 4) แรงจูงใจ ความต้องการและประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว 5) ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว โดยการวางแผนการพัฒนาและออกแบบภูมิทัศน์และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการท่องเที่ยวสัตว์ป่าควรให้ความสำคัญต่อแนวคิดต่อไปนี้ 1) การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่และการวางผัง ที่มุ่งเน้นการรักษาสภาพธรรมชาติ ลดการรบกวนต่อสัตว์ป่า และสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีต่อนักท่องเที่ยว 2) การเลือกใช้พืชพรรณท้องถิ่นที่เติบโตได้ในบริเวณ พืชซึ่งเป็นอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ รักษาและขยายพันธุ์พืชท้องถิ่นเดิม 3) การออกแบบภูมิทัศน์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่กลมกลืน ส่งเสริมจิตวิญญาณและคุณค่าของภูมิทัศน์ดั้งเดิม สามารถตอบสนองการใช้สอยโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าและสภาพธรรมชาติ ด้วยการเลือกใช้เทคโนโลยีการก่อสร้าง วัสดุ สีสัน รูปแบบสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงการใช้ภูมิประเทศและพืชพรรณช่วยส่งเสริมหรือบดบัง 4) การพรางและออกแบบระบบสาธารณูปโภคที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม รวมทั้งการเลือกใช้พลังงานจากธรรมชาติและหลอดไฟกำลังต่ำ เพื่อลดผลกระทบต่อสัตว์ป่าและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ |