บทบาทของสวนสราญรมย์ในฐานะสวนประวัติศาสตร์
รหัสดีโอไอ
Creator ณิชา เกษตรเกรียงไกร
Title บทบาทของสวนสราญรมย์ในฐานะสวนประวัติศาสตร์
Contributor วิภากร ธรรมวิมล
Publisher Thai Association of Landscape Architects
Publication Year 2567
Journal Title Journal of Landscape Architecture and Planning
Journal Vol. 6
Journal No. 1
Page no. 276549
Keyword สวนประวัติศาสตร์;มรดกทางวัฒนธรรม;คุณค่าความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรม;สวนสราญรมย์;รัตนโกสินทร์
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAJ/index
Website title ThaiJO
ISSN 3027-8503 (Online)
Abstract “สวนสราญรมย์” เป็นสวนที่มีความเก่าแก่และมีประวัติศาสตร์มายาวนาน ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2409 สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ปัจจุบัน (พ.ศ. 2567) สวนแห่งนี้ทำหน้าที่เป็นสวนสาธารณะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจและการออกกำลังกาย แม้บริเวณที่ตั้งของพระราชวังสราญรมย์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในปี พ.ศ. 2545 แต่บริเวณพื้นที่สวนซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอุทยานสราญรมย์ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน ประกอบกับความเสื่อมโทรมขององค์ประกอบทางภูมิสถาปัตยกรรมภายในสวน และจากการสอบถามพบว่าผู้คนทั่วไปไม่ทราบว่าสวนสราญรมย์เป็นสวนที่มีความเก่าแก่และมีคุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์ งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของสวนสราญรมย์ในฐานะการเป็นสวนประวัติศาสตร์ผ่านการศึกษาองค์ประกอบของมรดกทางวัฒนธรรม ทั้งองค์ประกอบที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยประกอบด้วย การรวบรวมเอกสารอ้างอิงและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในพื้นที่ การเก็บข้อมูลในพื้นที่ศึกษา และทำการวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นเรื่องคุณค่าความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรม โดยอิงเกณฑ์ตามหลักสากล และจากผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าองค์ประกอบที่จับต้องได้ของสวนสราญรมย์ยังคงหลงเหลืออยู่ แต่องค์ประกอบส่วนใหญ่มีสภาพทรุดโทรมตามกาลเวลา จึงควรทำแผนการอนุรักษ์เพื่อเก็บรักษาองค์ประกอบทางกายภาพที่แสดงถึงความเป็นสวนประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างบรรยากาศให้เกิดการระลึกถึงความทรงจำในประวัติศาสตร์ โดยไม่สร้างองค์ประกอบใหม่ที่ขัดแย้งกับแนวคิดการออกแบบดั้งเดิมของสวน ส่วนองค์ประกอบที่จับต้องไม่ได้ เช่น กิจกรรมทางสังคมและการใช้สอยพื้นที่พื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ส่งผลให้คนทั่วไปอาจหลงลืมว่าสวนสราญรมย์เป็นสวนประวัติศาสตร์ ดังนั้น เพื่อการคงคุณค่าและความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมในการเป็นสวนประวัติศาสตร์ ควรส่งเสริมกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการรำลึกถึงอดีต และอีกทั้งยังควรอนุรักษ์และสื่อความหมายโดยการประชาสัมพันธ์ให้สวนสราญรมย์เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ซึ่งผลการวิจัยเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาสวนประวัติศาสตร์อื่น ๆ ในอนาคต และเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้ผู้คนทั่วไปเห็นความสำคัญของภูมิทัศน์วัฒนธรรม ประเภทสวนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยต่อไป
Thai Association of Landscape Architects

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ