การวิเคราะห์ผลกระทบเชิงทัศน์ เพื่อควบคุมการพัฒนาอาคารในภูมิทัศน์แหล่งศิลปกรรม ประเภทอนุสรณ์สถานขนาดใหญ่ : กรณีศึกษาพระปฐมเจดีย์
รหัสดีโอไอ
Creator สุพิชฌาย์ เมืองศรี
Title การวิเคราะห์ผลกระทบเชิงทัศน์ เพื่อควบคุมการพัฒนาอาคารในภูมิทัศน์แหล่งศิลปกรรม ประเภทอนุสรณ์สถานขนาดใหญ่ : กรณีศึกษาพระปฐมเจดีย์
Contributor รุจิโรจน์ อนามบุตร, สินีนาถ ศุกลรัตนเมธี
Publisher Thai Association of Landscape Architects
Publication Year 2567
Journal Title Journal of Landscape Architecture and Planning
Journal Vol. 6
Journal No. 1
Page no. 276505
Keyword อนุสรณ์สถานขนาดใหญ่, สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม, การประเมินผลกระทบเชิงทัศน์, การควบคุมความสูงอาคาร, การกำหนดระยะถอยร่น, พระปฐมเจดีย์
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAJ/index
Website title ThaiJO
ISSN 3027-8503 (Online)
Abstract การพัฒนาที่ไม่เหมาะสมในสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมส่งผลกระทบต่อการรับรู้คุณค่าของแหล่งศิลปกรรม ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสรณ์สถานขนาดใหญ่ แม้ว่าภาครัฐพยายามกำหนดเขตการจัดการเชิงทัศน์เพื่อควบคุมความสูงและระยะถอยร่นของอาคาร แต่ยังขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนระดับการควบคุมที่เหมาะสม อีกทั้งยังขาดการศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ของสาธารณชนต่อผลกระทบเชิงทัศน์ของแหล่งศิลปกรรมในระดับต่าง ๆ โดยเฉพาะเมื่อมีสิ่งรบกวน (เช่น อาคาร) ปรากฏในฉากหน้าและฉากกลาง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการควบคุมความสูงอาคารและความกว้างของมุมมองในการลดผลกระทบเชิงทัศน์ต่อพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม โดยเป็นการประเมินการรับรู้ของสาธารณชนต่อระดับความชื่นชอบและการยอมรับสภาพแวดล้อมปัจจุบันและที่จำลองขึ้นตามระดับการควบคุมความสูงและระยะถอยร่นของอาคารที่แตกต่างกัน จุดควบคุมมุมมองโดยรอบพระปฐมเจดีย์ที่ใช้ในการศึกษามีทั้งหมด 5 จุด เพื่อสร้างภาพตัวแทนสำหรับการประเมิน แต่ละจุดมุมมองมีการจำลองฉากทัศน์ไว้ 4 รูปแบบที่ดัดแปลงจากภาพอ้างอิงของระดับการพัฒนาปัจจุบัน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการควบคุมความสูงและระยะถอยร่นของอาคารช่วยเพิ่มการรับรู้คุณค่าของแหล่งศิลปกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมอาคารที่ตั้งอยู่ในฉากหน้า การศึกษายังพบว่าการควบคุมความสูงของอาคารทั้งในฉากหน้าและกลางในภูมิทัศน์ที่มีแหล่งศิลปกรรมอยู่ในฉากหลังไม่ให้เกินสองในสามของความสูงที่มองเห็นแหล่งศิลปกรรมเป็นระดับการควบคุมอย่างอ่อนที่สุดที่จะไม่สร้างความขัดแย้งระหว่างความชื่นชอบและการยอมรับได้ สำหรับในภูมิทัศน์ช่องมอง การขยายความกว้างของถนนสามารถส่งเสริมคุณภาพเชิงทัศน์ได้ในระดับที่เทียบเท่าหรือดีกว่ามาตรการควบคุมความสูงที่เข้มงวดกว่าแต่ไม่มีระยะถอยร่น ผลการศึกษานี้ได้นำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวางผังเมืองและการกำหนดนโยบายในการจัดการการพัฒนาในเขตการจัดการเชิงทัศน์ แนวทางการประเมินที่เสนอในการศึกษานี้ช่วยสร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์คุณค่าทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์กับการเติบโตของเมืองอย่างเหมาะสม อันจะนำไปสู่การลดความขัดแย้งระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนา
Thai Association of Landscape Architects

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ