ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์ชุมชนบ้านนาต้นจั่น ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
รหัสดีโอไอ
Creator อัมพิกา อำลอย
Title ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์ชุมชนบ้านนาต้นจั่น ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
Publisher Thai Association of Landscape Architects
Publication Year 2567
Journal Title Journal of Landscape Architecture and Planning
Journal Vol. 6
Journal No. 1
Page no. 275641
Keyword การอนุรักษ์ภูมิทัศน์, การพัฒนาภูมิทัศน์, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ชุมชนบ้านนาต้นจั่น
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAJ/index
Website title ThaiJO
ISSN 3027-8503 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและวิธีการของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์ชุมชนบ้านนาต้นจั่น เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมในชุมชนบ้านนาต้นจั่น และเพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์ที่ยั่งยืนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนบ้านนาต้นจั่น งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสำรวจภูมิทัศน์ชุมชนและแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยสมาชิกชุมชนบ้านนาต้นจั่นจำนวน 30 คน ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงกายภาพและข้อมูลจากการสัมภาษณ์ โดยนำเสนอข้อมูลผ่านการบรรยาย แผนที่ และภาพประกอบ แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษานี้ประกอบด้วยแนวคิดเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งหมายถึงความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่สะสมกันมาของชุมชนท้องถิ่น โดยมีความสำคัญในการดำเนินชีวิต การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การเกษตร วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น อีกทั้งยังใช้ทฤษฎีพัฒนาที่ยั่งยืนที่เน้นการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของปัจจุบันโดยไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการตอบสนองความต้องการของคนในอนาคต ทฤษฎีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบบูรณาการที่เน้นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่คำนึงถึงความสัมพันธ์และผลกระทบระหว่างทรัพยากรธรรมชาติและชุมชน และทฤษฎีการพัฒนาชุมชนที่เน้นการพัฒนาชุมชนโดยการเพิ่มพูนความสามารถและศักยภาพของสมาชิกในชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านนาต้นจั่นได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการพื้นที่เกษตร การจัดการน้ำ การเกษตรแบบยั่งยืน การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม การปรับตัวตามฤดูกาล การใช้สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการออกแบบ และการสร้างพื้นที่สาธารณะ ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยให้ชุมชนสามารถรักษาความสมดุลระหว่างการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่นยังมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความยั่งยืนและความเข้มแข็งของชุมชนในระยะยาว ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ประกอบด้วยการส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืน การจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการเสริมสร้างความร่วมมือในชุมชน
Thai Association of Landscape Architects

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ