ทักษะและจรรยาบรรณทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในเขตจังหวัดสมุทรสาคร
รหัสดีโอไอ
Creator ธนวรรณ แฉ่งขำโฉม
Title ทักษะและจรรยาบรรณทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในเขตจังหวัดสมุทรสาคร
Contributor ศิริวัลย์ จันทร์แก้ว, สมชาย เลิศภิรมย์สุข, สุนา สุทธิเกียรติ, ศศิธร เปอร์เขียว, สุภาณี อินทน์จันทน์, อังคณา อินเสือ
Publisher Thonburi University
Publication Year 2568
Journal Title Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University
Journal Vol. 19
Journal No. 1
Page no. 107-121
Keyword ทักษะทางวิชาชีพบัญชี, จรรยาบรรณทางวิชาชีพบัญชี, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, นักบัญชี
URL Website https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal
Website title Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University
ISSN 2672-9202
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความความสัมพันธ์และอิทธิพลของทักษะทางวิชาชีพบัญชี และจรรยาบรรณทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของนักบัญชีในเขตจังหวัดสมุทรสาคร โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักบัญชีที่เป็นผู้ทำบัญชีที่ขึ้นทะเบียนกับทางสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ในเขตจังหวัดสมุทรสาคร ด้วยการสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็นแบบวิธีสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย จำนวนตัวอย่างคำนวณตามสูตร ยามาเน่ ได้จำนวน 329 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 302 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ แบบ Enter และ Stepwise เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ทักษะทางวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล และทักษะของคนทำงานในศตวรรษที่ 21 มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของผู้ทำบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยได้ค่าสัมประสิทธิ์ของการพยากรณ์ปรับปรุง (R Square) ใช้เปรียบเทียบตัวแบบที่มีจำนวนตัวแปรทำนายไม่เท่ากันมีค่า 0.891 คือสามารถอธิบายอิทธิพลเชิงบวกต่อความมีประสทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีได้ร้อยละ 89.1 และจรรยาบรรณทางวิชีพบัญชีด้านการมีความรู้ความสามารถ ความเอาใจใส่ และมีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน การรักษาความลับ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์ มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของผู้ทำบัญชีอย่างมีนัยสำคัญในระดับ.05 โดยได้ค่าสัมประสิทธิ์ของการพยากรณ์ปรับปรุง (R Square) ใช้เปรียบเทียบตัวแบบที่มีจำนวนตัวแปรทำนายไม่เท่ากันมีค่า 0.987 คือ สามารถอธิบายอิทธิพลเชิงบวกต่อความมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีได้ร้อยละ 98.7
Thonburi University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ