![]() |
องค์ประกอบตัวชี้วัดความยั่งยืนจากแรงขับเคลื่อนของพนักงานขายในอุตสาหกรรมสีไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ศิรินธร เศรษฐวิริยะธาดา |
Title | องค์ประกอบตัวชี้วัดความยั่งยืนจากแรงขับเคลื่อนของพนักงานขายในอุตสาหกรรมสีไทย |
Contributor | ปริญ ลักษิตามาศ |
Publisher | Thonburi University |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University |
Journal Vol. | 19 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 152-166 |
Keyword | ตัวชี้วัดความยั่งยืน, แรงขับเคลื่อนของพนักงานขาย, อุตสาหกรรมสีไทย |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal |
Website title | Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University |
ISSN | 2672-9202 |
Abstract | การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยหลักเพื่อ (1) ศึกษาระดับความยั่งยืนจากแรงขับเคลื่อนพนักงานขายในอุตสาหกรรมสีไทย (2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของตัวชี้วัดความยั่งยืนจากแรงขับเคลื่อนพนักงานขายในอุตสาหกรรมสีไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานขายในอุตสาหกรรมสีไทย จำนวนทั้งสิ้น 600 คน การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ได้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 23 และ AMOS version 24 โดยใช้ค่าสถิติอันได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ผลการวิจัยพบว่า ตัวอย่างพนักงานขายมีความเห็นต่อความยั่งยืนจากแรงขับเคลื่อนพนักงานขายในอุตสาหกรรมสีไทยในระดับมาก (x ̅=4.36) โดยมีความคิดเห็นมากที่สุดในด้าน คุณสมบัติของพนักงานขายด้านความรู้ในการขาย (x ̅=4.56) คุณลักษณะของพนักงานขาย (x ̅=4.54) การดำเนินการขาย (x ̅=4.40) ความคาดหวังในการทำงานขาย (x ̅=4.38) การทำงานเป็นทีมขาย (x ̅=4.36) การสื่อสารการตลาดดิจิทัล (x ̅=4.34) กระบวนการขาย (x ̅=4.31) แรงจูงใจในการทำงานขาย(x ̅=4.28) ความสัมพันธภาพกับคู่ธุรกิจ (x ̅=4.28) และความผูกพันต่อองค์กร (x ̅=4.24) ตามลำดับ ผลลัพธ์คือได้ตัวชี้วัดความยั่งยืนจากแรงขับเคลื่อนพนักงานขายในอุตสาหกรรมสีไทยที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 30 ตัวชี้วัด จาก 10 องค์ประกอบ ซึ่งแต่ละองค์ประกอบต่างมีความตรงเชิงเสมือน (0.970) ตลอดจนค่าความผันแปรของค่าความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้าง (0.767) ต่างให้ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ตั้งแต่ 0.40 ขึ้นไป (ค่าสัมบูรณ์) จึงมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ |