![]() |
การประเมินผลกระทบทางสังคมจากโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล: กรณีศึกษา พื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อิทธิศักดิ์ จิราภรณ์วารี |
Title | การประเมินผลกระทบทางสังคมจากโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล: กรณีศึกษา พื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา |
Contributor | วัชรพงศ์ หนุมาศ |
Publisher | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน |
Journal Vol. | 20 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 122-141 |
Keyword | การประเมินผลกระทบทางสังคม, การกัดเซาะชายฝั่ง, กำแพงกันคลื่น, หาดมหาราช, ผลกระทบจากการเลี้ยวเบนของคลื่น |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM |
Website title | วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน Journal of Environmental and Sustainable Management (JESM) |
ISSN | 3056-9486 |
Abstract | ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 มาตรการ คือ มาตรการสีเขียว สีขาว และสีเทา การศึกษานี้มุ่งเน้นการประเมินผลกระทบทางสังคมจากโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล กรณีศึกษา พื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 76 ราย ใน 4 มิติ คือ มิติด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสังคม และด้านวิถีชีวิต ผลการศึกษาพบว่า มิติด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีระดับผลกระทบที่สูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 3.59 ในทางกลับกันมิติด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีระดับผลกระทบน้อยที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 2.นอกจากนี้ การทดสอบความต่างของค่าเฉลี่ยของอาชีพที่มีระดับความห่วงกังวลต่อผลกระทบทางสังคมในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านวิถีชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อค้นพบในครั้งนี้สนับสนุนแนวทางการป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรูปแบบผสมผสาน โดยการปรับสมดุลชายฝั่งโดยธรรมชาติ (สีขาว) ในการกำหนดพื้นที่กันชนให้มีระยะห่างระดับหนึ่งจากทะเล กำหนดการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมกับอัตราการกัดเซาะชายฝั่งร่วมกับการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมเดิมที่ได้มีการดำเนินการแล้วเสร็จ (สีเทา) สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน |