![]() |
การประเมินความสามารถในการเดินและศักยภาพของการเดินในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมเมือง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วิศรุต ช่วยจันทร์ |
Title | การประเมินความสามารถในการเดินและศักยภาพของการเดินในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมเมือง |
Contributor | วัฒนา นิคม, เอกลักษณ์ กาญจนเพ็ญ, ประภัสสร กุลทอง, ทิฆัมพร เขมวงศ์, ปรเมษฐ หอมหวล |
Publisher | Faculty of Engineering and Industrial Technology, Kalasin University |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Journal Vol. | 3 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 41-55 |
Keyword | ดัชนีความสามารถในการเดิน, การประเมินทางเท้า, เทศบาลตำบลหัวไทร, ความปลอดภัยของคนเดินเท้า, การข้ามถนน |
URL Website | https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT |
Website title | วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2985-0274 (Print),ISSN 2985-0282 (Online) |
Abstract | การเดินเป็นรูปแบบการเดินทางพื้นฐานที่มีบทบาทสำคัญในการเข้าถึงบริการและกิจกรรมในชีวิตประจำวัน รวมถึงส่งเสริมสุขภาพ ลดการใช้พลังงาน และสนับสนุนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและประเมินความสามารถในการเดิน (Walkability) ภายในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ดัชนีความสามารถในการเดิน (Walkability Index: WI) เป็นเครื่องมือหลัก ร่วมกับระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed-Methods Research) ซึ่งประกอบด้วยแบบสอบถามจากประชาชน 400 คน สัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และการสำรวจภาคสนาม โดยผลการประเมินพบว่า ค่าดัชนี WI เฉลี่ยอยู่ที่ 71.18 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับ “ดี” โดยปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการเดินมากที่สุด ได้แก่ การบำรุงรักษาและความสะอาดของทางเท้า ความพร้อมของทางข้ามถนน และความปลอดภัยจากอาชญากรรม อย่างไรก็ตาม ยังพบข้อจำกัดในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ความปลอดภัยของการข้ามถนนในบางพื้นที่ และพฤติกรรมของผู้ขับขี่ที่ยังไม่เป็นมิตรต่อคนเดินเท้า งานวิจัยนี้นำเสนอแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเท้าให้มีความต่อเนื่อง ปลอดภัย และรองรับการเข้าถึงของประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้เปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุและผู้พิการ ทั้งนี้ผลการศึกษาเป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนนโยบายท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเดินเท้าในชุมชน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน |