ศึกษาความเหมาะสมของอุณหภูมิจากฮีตเตอร์เพื่อใช้กับเครื่องกวนมะม่วงแบบกึ่งอัตโนมัติ
รหัสดีโอไอ
Creator อนุวัช แสนพงษ์
Title ศึกษาความเหมาะสมของอุณหภูมิจากฮีตเตอร์เพื่อใช้กับเครื่องกวนมะม่วงแบบกึ่งอัตโนมัติ
Contributor ภัคคิป ไกรโสดา, เสาวนีย์ จันทร์สว่าง, ศิวณุ เหล่าบุตรสา, ไฉไล ซาเสน
Publisher Faculty of Engineering and Industrial Technology, Kalasin University
Publication Year 2568
Journal Title วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Journal Vol. 3
Journal No. 2
Page no. 30-40
Keyword เครื่องกวนมะม่วง, ความหนืด, เปอร์เซ็นต์ความชื้น, อุณหภูมิ, ฮีตเตอร์
URL Website https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT
Website title วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2985-0274 (Print),ISSN 2985-0282 (Online)
Abstract งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความเหมาะสมของอุณหภูมิจากฮีตเตอร์ที่ใช้ในเครื่องกวนมะม่วงแบบกึ่งอัตโนมัติ โดยทดลองอุณหภูมิที่ 90, 100, 110 และ 120 องศาเซลเซียส และศึกษาผลกระทบต่อคุณสมบัติของมะม่วงกวน ได้แก่ ความหนืด (Pa·s) น้ำหนัก (กรัม) และเปอร์เซ็นต์ความชื้น (%wb) การทดลองดำเนินการโดยใช้มะม่วงมหาชนกปั่น 2,000 กรัม และกวนต่อเนื่องในช่วงเวลา 30, 60, 90 และ 120 นาที ความเร็วในการกวน 15 รอบต่อนาที กระทะกวนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 22 นิ้ว ให้ความร้อนด้วยระบบฮีตเตอร์ขนาด 2,500 วัตต์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า อุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการกวนมีอิทธิพลต่อคุณภาพของมะม่วงกวน โดยอุณหภูมิที่สูงขึ้นช่วยเร่งการระเหยของน้ำส่งผลให้เปอร์เซ็นต์ความชื้น ลดลงและความหนืดเพิ่มขึ้น โดยอุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส และระยะเวลากวน 90 นาที เป็นค่าที่เหมาะสมที่สุดได้น้ำหนักหลังการกวนที่ 730 กรัม เนื่องจากให้ค่าความหนืดใกล้เคียงค่าอ้างอิง 0.498 Pa·s และเปอร์เซ็นต์ความชื้นอยู่ในระดับที่เหมาะสมประมาณ 70.32 %wb ทั้งนี้ การควบคุมอุณหภูมิและเวลาการกวนให้เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ