การพัฒนากระบวนการผลิตกระดาษจากฟางข้าวด้วยวิธีทางกลร่วมกับวิธีทางชีวภาพ
รหัสดีโอไอ
Creator ภักดี สิทธิฤทธิ์กวิน
Title การพัฒนากระบวนการผลิตกระดาษจากฟางข้าวด้วยวิธีทางกลร่วมกับวิธีทางชีวภาพ
Contributor ไพทูรย์ ยศกาศ, ฤทธิชัย บุญทาศรี
Publisher Faculty of Engineering and Industrial Technology, Kalasin University
Publication Year 2568
Journal Title วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Journal Vol. 3
Journal No. 1
Page no. 1-15
Keyword กระดาษ, ฟางข้าว, วิธีทางกล, ชีวภาพ
URL Website https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT
Website title วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2985-0274 (Print),ISSN 2985-0282 (Online)
Abstract วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาขั้นตอนการผลิตกระดาษจากฟางข้าวโดยใช้วิธีทางกลร่วมกับวิธีทางชีวภาพ และศึกษาคุณสมบัติกระดาษจากฟางข้าวที่ได้มาจากกระบวนการผลิต โดยจะมีการเลือกฟางข้าวของต้นข้าวสองชนิดคือข้าวหอมมะลิ กข15 และข้าวเหนียวเขี้ยวงู มาทดสอบทำเยื่อกระดาษด้วยวิธีทางกล ได้แก่ การบดสับด้วยเครื่องจักร และการต้มในถังแรงควบคุมแรงดันที่มีการออกแบบและสร้างขึ้นมาให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยใช้อุณหภูมิในการต้ม 140 องศาเซลเซียส ความดัน 361 กิโลปาสคาล เพื่อลดเวลาและประหยัดเชื้อเพลิงในการต้มเยื่อกระดาษ ในส่วนวิธีทางชีวภาพจะนำฟางข้าวมาหมักกับน้ำที่มีสารจุลินทรีย์ย่อยสลาย พด.2 จากนั้นนำเยื่อฟางที่ได้ไปขึ้นรูปเป็นกระดาษและนำไปทดสอบหาคุณสมบัติ หลังการทดสอบพบว่า ฟางข้าวจากข้าวหอมมะลิ กข15 สามารถนำไปผลิตเป็นกระดาษจากฟางได้ดีกว่า เนื่องจากให้ปริมาณเยื่อกระดาษได้มากกว่า เมื่อนำฟางข้าวไปผ่านขั้นตอนทางกลและนำไปแช่ ในน้ำที่มีเชื้อจุลินทรีย์ พด2. เป็นเวลา 30 วัน จะสามารถนำไปต้มในถังควบคุมแรงดันเป็นเวลา 30 นาที ซึ่งวิธีดังกล่าวสามารถลดเวลาการต้มเยื่อฟางได้ดีกว่าวิธีการผลิตด้วยสารโซดาไฟจึงทำให้ประหยัดพลังงานได้มากกว่า โดยที่ความยาวของเส้นใยเยื่อฟางข้าวที่เหมาะจะใช้ที่ขนาด 33.4 มิลลิเมตร น้ำหนักเยื่อกระดาษ 45 กรัม ความหนากระดาษ 0.33 มิลลิเมตร และใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นตัวปรับปรุงคุณภาพกระดาษจะทำให้ความต้านทานแรงดึงของกระดาษมากที่สุด 142.1 นิวตัน มีดัชนีต้านทานแรงดึง 58.42 นิวตันเมตรต่อกรัม เพิ่มมากขึ้นแต่การซับน้ำลดลงเหลือร้อยละ 75.58 ซึ่งมีคุณสมบัติเพียงพอต่อการนำไปพัฒนาอัดขึ้นรูปไปเป็นบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารได้
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ