![]() |
ปัจจัยที่มีผลต่อการหมักก๊าซชีวภาพแบบไร้ออกซิเจนจากกากมันสำปะหลังและน้ำเสีย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | นพดล ยุบลชู |
Title | ปัจจัยที่มีผลต่อการหมักก๊าซชีวภาพแบบไร้ออกซิเจนจากกากมันสำปะหลังและน้ำเสีย |
Contributor | ภากร งามแสง, ไทยทัศน์ สุดสวนสี |
Publisher | Faculty of Engineering and Industrial Technology, Kalasin University |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Journal Vol. | 2 |
Journal No. | 6 |
Page no. | 50-65 |
Keyword | การหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน, ก๊าซชีวภาพ, กากมันสำปะหลัง, น้ำเสีย, สัดส่วนที่เหมาะสม |
URL Website | https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT |
Website title | วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2985-0274 (Print),ISSN 2985-0282 (Online) |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการหมักก๊าซชีวภาพจากกากมันสำปะหลังและน้ำเสีย โดยดำเนินการทดลองด้วยอัตราส่วนของกากมันสำปะหลังต่อน้ำเสีย 5 แบบ ได้แก่ 1:1, 2:1, 3:1, 1:2 และ 1:3 ผลการวิเคราะห์ ANOVA แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนดังกล่าวมีผลต่อปริมาณก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้น โดยพบว่าอัตราส่วน 1:3 ให้ผลผลิตก๊าซสูงสุด โดยมีปริมาณการผลิตเฉลี่ย 8.81 ลิตรในวันที่ 13 ในขณะที่อัตราส่วน 1:2 มีปริมาณการผลิต 6.17 ลิตร ส่วนอัตราส่วน 1:1, 2:1 และ 3:1 มีปริมาณการผลิตต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ได้ทำการทดลองเพิ่มเติมในถังหมักขนาด 80 ลิตร ด้วยการใช้สัดส่วน 1:3 โดยศึกษาผลกระทบของความเร็วรอบการกวน 45 และ 110 รอบต่อนาที พบว่าความเร็วรอบ 110 รอบต่อนาทีช่วยเพิ่มการกระจายตัวของจุลินทรีย์และสารอาหารในถังหมัก ทำให้จุลินทรีย์สามารถเข้าถึงสารอาหารได้อย่างทั่วถึง และลดการสะสมของสารยับยั้ง เช่น กรดไขมันที่เกิดขึ้นในกระบวนการหมัก ส่งผลให้การผลิตก๊าซเริ่มต้นในวันที่ 5 และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 13 โดยมีปริมาณสะสมสูงสุด 45.14 ลิตร ขณะที่ความเร็วรอบ 45 รอบต่อนาทีเริ่มผลิตก๊าซในวันที่ 7 และมีปริมาณสะสมสูงสุดเพียง 21.58 ลิตร ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าอัตราส่วน 1:3 และความเร็วรอบ 110 รอบต่อนาทีเหมาะสมที่สุดสำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพจากกากมันสำปะหลังและน้ำเสีย ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพในอนาคต |