![]() |
การประยุกต์ใช้วิธี Fuzzy VIKOR ในการตัดสินใจเลือกแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไผ่ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สมศักดิ์ ทองแก้ว |
Title | การประยุกต์ใช้วิธี Fuzzy VIKOR ในการตัดสินใจเลือกแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไผ่ |
Contributor | ศักดิ์ชัย หงษ์ทอง, ปริวรรต นาสวาสดิ์, ณัฐภัทร กาญจนเรืองรอง, วีระพล ทับทิมดี, กฤษณะ ช่องศรี |
Publisher | Faculty of Engineering and Industrial Technology, Kalasin University |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Journal Vol. | 2 |
Journal No. | 6 |
Page no. | 34-49 |
Keyword | Fuzzy VIKOR, การตัดสินใจหลายเกณฑ์, การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไผ่ |
URL Website | https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT |
Website title | วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2985-0274 (Print),ISSN 2985-0282 (Online) |
Abstract | งานวิจัยนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้วิธี Fuzzy VIKOR เป็นเทคนิคการตัดสินใจแบบหลายเกณฑ์ เพื่อการตัดสินใจเลือกแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไผ่ที่เหมาะสมที่สุด โดยเริ่มจากการกำหนดเกณฑ์ตัดสินใจจำนวน 5 เกณฑ์ ได้แก่ ต้นทุนการผลิต (C1) การตลาด (C2) การสนับสนุนจากภาครัฐวิจัยและนวัตกรรม (C3) ความร่วมมือระหว่างชุมชนและผู้ประกอบการ (C4) และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (C5) กำหนดทางเลือก 8 ทางเลือก ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน (A1) เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่ง (A2) เครื่องมือและอุปกรณ์ (A3) งานหัตถกรรมและของที่ระลึก (A4) ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (A5) ผลิตภัณฑ์ในงานก่อสร้าง (A6) ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม (A7) และผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม (A8) การประเมินใช้ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน พบว่า ทางเลือก (A5) เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดมีค่า Si = 0.00, Ri = 0.00 และ Qi = 0.00 ต่ำที่สุด ทางเลือก (A8) มีค่า Si = 0.97 Ri = 1.34 และ Qi = 0.36 และ ทางเลือก (A7) มีค่า Si = 0.81, Ri = 1.66 และ Qi = 0.45 ตามลำดับ ส่วนทางเลือกที่เหมาะสมน้อยที่สุดคือ (A6) มีค่า Si = 0.97, Ri = 3.79 และ Qi = 1.00 ผลงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า สามารถประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจเลือกแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไผ่มีความซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ |