![]() |
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริดเพื่อเสริมสร้างทักษะ การช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลภายใต้สถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ทัชมาศ ไทยเล็ก |
Title | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริดเพื่อเสริมสร้างทักษะ การช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลภายใต้สถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
Contributor | วรรณศิริ นิลเนตร, จุฑารัตน์ คงเพ็ชร, อำไพพร ก่อตระกูล |
Publisher | สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ (สนว.) |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 141-159 |
Keyword | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน, การเรียนการสอนแบบไฮบริด, การช่วยฟื้นคืนชีพ, นักศึกษาพยาบาล, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir |
ISSN | 3027-6446 |
Abstract | สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริดเพื่อเสริมสร้างทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 จำนวน 55 คน และอาจารย์พยาบาลจำนวน 11 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย หุ่นจำลองสมรรถนะสูง วิดีทัศน์สาธิตการช่วยฟื้นคืนชีพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 และค่าสัมประสิทธิ์ของครอน บาค เท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริดเพื่อเสริมสร้างทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ประกอบด้วย1) การศึกษาวิดีทัศน์สาธิตการช่วยฟื้นคืนชีพ 2) การฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพแบบเผชิญหน้า โดยมีผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในห้องรวมกันไม่เกิน 5 คน 3) การทำแบบฝึกหัดรายบุคคล และ 4) การสรุปความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพแบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริดเพื่อเสริมสร้างทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (M = 4.40, SD =.476)ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริดเพื่อเสริมสร้างทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลไปใช้ ในการจัดการเรียนการสอน ในกรณีที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 รุนแรงหรือมีเหตุพิเศษอื่น ๆ จนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในคลินิกได้ |