![]() |
การพัฒนานักศึกษาครูด้วยการบูรณาการแนวคิดจิตปัญญาศึกษา การเป็นพี่เลี้ยง และการวิจัยเป็นฐาน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | มิตภาณี พุ่มกล่อม |
Title | การพัฒนานักศึกษาครูด้วยการบูรณาการแนวคิดจิตปัญญาศึกษา การเป็นพี่เลี้ยง และการวิจัยเป็นฐาน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี |
Contributor | กรัณย์พล วิวรรธมงคล |
Publisher | สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ (สนว.) |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 90-108 |
Keyword | การพัฒนานักศึกษาครู, จิตปัญญาศึกษา, การเป็นพี่เลี้ยง, การวิจัยเป็นฐาน |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir |
ISSN | 3027-6446 |
Abstract | การพัฒนานักศึกษาครูเป็นภาระกิจสำคัญของสถาบันการผลิตครูเพื่อออกไปรับใช้สังคมและการพัฒนาประเทศชาติ บทบาทสำคัญของการผลิครูต้องช่วยให้เกิดความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะของความเป็นครู ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาครูอย่างหลากหลายและพบปัญหาในการปฏิบัติงานของครูต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงทำให้ต้องพัฒนากระบวนการพัฒนานักศึกษาครูด้วยการบูรณาการแนวคิดจิตปัญญาศึกษา การเป็นพี่เลี้ยงและการวิจัยเป็นฐาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการพัฒนานักศึกษาครู 2) ศึกษาผลการพัฒนาครู และ 3) ถอดบทเรียนการพัฒนาครูด้วยการบูรณาการแนวคิดจิตปัญญาศึกษา การเป็นพี่เลี้ยงและการวิจัยเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายได้แก่ อาจารย์พี่เลี้ยงนิเทศ จำนวน 11 คน นักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์จำนวน 10 คน สาขาสังคมศึกษาจำนวน 5 คน รวมจำนวน 15 คน เครื่องมือได้แก่ คู่มือการพัฒนานักศึกษาครูฯ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจครูพี่เลี้ยงและนักศึกษาครู แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถการวิจัยในชั้นเรียน และแบบประเมินคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า1. กระบวนการพัฒนานักศึกษาครูด้วยแนวคิด CCR ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ร่วมทบทวนความเข้าใจเป้าหมายการพัฒนา ขั้นตอนที่ 2 เตรียมความพร้อมการพัฒนาวิชาชีพ ขั้นตอนที่ 3 นำไปสู่การปฏิบัติงานในวิชาชีพ ขั้นตอนที่ 4 ร่วมประสานติดตามผล การปฏิบัติงาน ขั้นตอนที่ 5 สะท้อนและสรุปบทเรียน2. ผลการใช้กระบวนการพัฒนานักศึกษาครู ได้ผลดังนี้ 2.1) ความรู้ความเข้าใจของครูพี่เลี้ยง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 19.26 คิดเป็นร้อยละ 64.20 ส่วนนักศึกษาครู มีค่าคะแนนเฉลี่ย 18.05 คิดเป็นร้อยละ 60.66 2.2) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2.3) ความสามารถการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาครูภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 2.4) คุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาครูโดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก3. ผลการถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนานักศึกษาครูตามแนวคิด (CCR) มีประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาตามกลไกความร่วมมือร่วมใจ การส่งเสริมการบริหารจัดการ การออกแบบกิจกรรมสร้างความเป็นครู และเงื่อนไขสำคัญผู้ปฏิบัติหากไม่ศึกษาอย่างลุ่มลึกจะไม่สามารถลงสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จได้ |