การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ชุมชนโดยใช้วิจัยเป็นฐานวิชาศึกษาอิสระทางพระพุทธศาสนาสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รหัสดีโอไอ
Creator พระเจริญพงษ์ วิชัย
Title การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ชุมชนโดยใช้วิจัยเป็นฐานวิชาศึกษาอิสระทางพระพุทธศาสนาสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Contributor พระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกร
Publisher สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ (สนว.)
Publication Year 2568
Journal Title วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
Journal Vol. 9
Journal No. 1
Page no. 507-524
Keyword กระบวนการเรียนรู้ชุมชน, วิจัยเป็นฐาน, ศึกษาอิสระ, พระพุทธศาสนา
URL Website https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir
ISSN 3027-6446
Abstract กระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเองและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ การวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ชุมชนโดยใช้วิจัยเป็นฐานวิชาศึกษาอิสระทางพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่าง นิสิต จำนวน 16 รูป/คน กำหนดแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 2) คู่มือกระบวนการเรียนรู้ชุมชนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน 3) แบบประเมินประสิทธิผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกกลุ่มข้อมูล ตีความและประมวลผลข้อมูลแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนาผลการวิจัย พบว่า การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ชุมชนตามแนวคิด CCS มี 7 ขั้นตอน (1) จัดเวทีค้นหาปัญหา (2) ลงพื้นที่สำรวจปัญหา (3) จัดเวทีค้นหาแนวทางแก้ปัญหา (4) ขับเคลื่อนการแก้ปัญหา (5) ถอดบทเรียน (6) สังเคราะห์และคืนข้อมูลแก่ชุมชน (7) จัดทำรายงานการวิจัย บูรณาการกับการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน 2 แบบ (1) ผู้สอนใช้ผลวิจัยและกระบวนการวิจัยในการสอน (2) ผู้เรียนใช้ผลวิจัยและกระบวนการวิจัยในการเรียน ทดลองใช้กับนิสิตในการศึกษาอิสระเรื่องการพัฒนากิจกรรมวิถีพุทธเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะจิตของผู้สูงอายุชุมชนวัดบางหลวง ผลการประเมินประสิทธิผลของกระบวนการเรียนรู้ชุมชนโดยใช้วิจัยเป็นฐานวิชาศึกษาอิสระทางพระพุทธศาสนา สามารถช่วยกระตุ้นผู้เรียนให้มีทักษะการสร้างความรู้ด้วยตนเอง นำองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาเชิงบูรณาการไปใช้ในการฝึกปฏิบัติแก้ไขปัญหาของชุมชนองค์ความรู้จากการวิจัย คือ การสร้างเครื่องมือที่นำไปใช้ในกระบวนการเรียนรู้ชุมชนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน คือ “ต้นไม้อริยสัจ” ต้นที่ 1 (ต้นปัญหา) เครื่องมือเก็บข้อมูลศึกษาปัญหา ค้นหาสาเหตุ และผลกระทบ ต้นที่ 2 (ต้นปัญญา) เครื่องมือระดมความคิดกำหนดเป้าหมาย แนวทาง วิธีการแก้ปัญหา ระบุผลกระทบ นำไปสู่ข้อตกลงร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาของชุมชน
สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ (สนว.)

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ