การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของคุรุสภาส่วนภูมิภาค
รหัสดีโอไอ
Creator ฉัตรกุล ตรงคมาลี
Title การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของคุรุสภาส่วนภูมิภาค
Contributor รัชฎาพร เกตานนท์
Publisher สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ (สนว.)
Publication Year 2568
Journal Title วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
Journal Vol. 9
Journal No. 1
Page no. 34-55
Keyword รูปแบบการบริหารจัดการ, การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่, คุรุสภาส่วนภูมิภาค
URL Website https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir
ISSN 3027-6446
Abstract กรอบนโยบายการพัฒนาประเทศและสถานการณ์ปัจจุบัน มีความจำเป็นต้องเร่งพัฒนาและปรับตัวเพื่อลดช่องว่างของการปฏิบัติงานให้มีศักยภาพที่เหมาะสม บนหลักการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ เพื่อรับมือกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและเสริมสร้างความสามารถของภาครัฐ ให้มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนา และสร้างระบบบริหารจัดการ สร้างระบบที่ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร ให้มีทักษะที่จำเป็นในการให้บริการภาครัฐดิจิทัล รวมทั้งปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ให้เอื้อต่อการพัฒนา ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของคุรุสภาส่วนภูมิภาค เพื่อจะนำไปสู่การเป็นรูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ที่สามารถพัฒนาและนำไปใช้ประโยชน์ทางการด้านบริหารงานในส่วนภูมิภาคขององค์กรวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อไปการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการบริหารจัดการคุรุสภาส่วนภูมิภาค 2) ศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการแนวใหม่ของคุรุสภาส่วนภูมิภาค และ 3) ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของคุรุสภาส่วนภูมิภาค เป็นการวิจัยแบบผสม ในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการบริหารจัดการคุรุสภาส่วนภูมิภาค โดยเก็บข้อมูลจากแบบสำรวจ ผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด พนักงานเจ้าหน้าที่คุรุสภาส่วนภูมิภาค และผู้รับบริการ ขั้นตอนที่ 2) ศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของการบริหารงานคุรุสภาส่วนภูมิภาค จังหวัดต้นแบบ (พหุกรณีศึกษา) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ศึกษาธิการจังหวัด และพนักงานเจ้าหน้าที่คุรุสภาส่วนภูมิภาค 3) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของคุรุสภาส่วนภูมิภาค จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 จากนั้นประเมินความถูกต้องและความเหมาะสมของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันในการบริหารจัดการคุรุสภาส่วนภูมิภาค พบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความคิดเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่คุรุสภาส่วนภูมิภาค ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความคิดเห็นของผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและพนักงานเจ้าหน้าที่คุรุสภาส่วนภูมิภาค ต่อการบริหารจัดการคุรุสภาส่วนภูมิภาคโดยการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ผู้รับบริการมีความคิดเห็นต่อการให้บริการของคุรุสภาส่วนภูมิภาค ภาพรวมอยู่ในระดับมาก2. วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศการบริหารงานคุรุสภาส่วนภูมิภาค พบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ 1) บุคลากรศักยภาพสูง 2) การบริหารจัดการเชิงรุก การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม การบริหารจัดการแบบการบูรณาการความร่วมมือ 3) การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารเทศ และการสร้างทักษะ ความรู้ ความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 4) การทำงานเป็นทีม 5) การสร้างและพัฒนาเครือข่าย และ 6) ความพร้อมด้านทรัพยากรสนับสนุนการบริหารจัดการ3. รูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของคุรุสภาส่วนภูมิภาค มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การร่วมมือกันระหว่างองค์กร 2) การทำงานเป็นทีม 3) เทคโนโลยีสารสนเทศ 4) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 5) การสร้างและพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ และ 6) ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลองค์ความรู้งานวิจัยนี้จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาโครงสร้าง กำหนดรูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสม และการขับเคลื่อนนโยบายที่ตอบสนองพันธกิจตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดได้อย่างเต็มศักยภาพ
สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ (สนว.)

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ