![]() |
รูปแบบการพัฒนากลยุทธ์เชิงบูรณาการการบริหารสถานศึกษา ตามแนวพุทธศาสตร์กับเทคโนโลยีสร้างสรรค์ สำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พรทิวา ชนะโยธา |
Title | รูปแบบการพัฒนากลยุทธ์เชิงบูรณาการการบริหารสถานศึกษา ตามแนวพุทธศาสตร์กับเทคโนโลยีสร้างสรรค์ สำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Contributor | พระเมธีวัชราภรณ์, ธงชัย สมบูรณ์ |
Publisher | สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ (สนว.) |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 358-373 |
Keyword | เทคโนโลยีสร้างสรรค์, การบริหารสถานศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์, โรงเรียนระดับประถมศึกษาขนาดเล็ก |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir |
ISSN | 3027-6446 |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์กับเทคโนโลยีสร้างสรรค์ ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 2) พัฒนารูปแบบกลยุทธ์เชิงบูรณาการการบริหารสถานศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์กับเทคโนโลยีสร้างสรรค์ สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก และ 3) ประเมินรับรองรูปแบบที่สร้างขึ้น รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กรอบการวิจัยใช้แนวคิด กลยุทธ์ การบริหารสถานศึกษา หลักทางพุทธศาสตร์ และเทคโนโลยีสร้างสรรค์ พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ครู จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามสภาพการบริหารสถานศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์กับเทคโนโลยีสร้างสรรค์ 2) แบบสัมภาษณ์ แนวทางการพัฒนากลยุทธ์เชิงบูรณาการการบริหารสถานศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์กับเทคโนโลยีสร้างสรรค์ 3) แบบประเมินรับรองรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1. สถานศึกษามีความต้องการจำเป็นในการบริหารแบบพุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์ในภาพรวมระดับสูง PNImodified 0.3402. ผลการพัฒนารูปแบบกลยุทธ์เชิงบูรณาการการบริหารสถานศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์กับเทคโนโลยีสร้างสรรค์ มีกลยุทธ์หลัก จำนวน 11 กลยุทธ์ ได้แก่ ด้านการบริหารวิชาการ 3 กลยุทธ์ ด้านการบริหารงบประมาณ 3 กลยุทธ์ ด้านการบริหารบุคคล 3 กลยุทธ์ ด้านการบริหารทั่วไป 2 กลยุทธ์3. ผลการประเมินรับรองรูปแบบกลยุทธ์ที่สร้างขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้งด้านความเหมาะสม (4.45) และความเป็นไปได้ (4.31)องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ ศึกษาธิการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการวิจัยไปใช้วางกลยุทธ์ เพื่อบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามแนวพุทธศาสตร์ร่วมกับเทคโนโลยีสร้างสรรค์ |