![]() |
การพัฒนาภูมิศาสตร์วัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พระสาโรจน์ สุนทโร |
Title | การพัฒนาภูมิศาสตร์วัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี |
Contributor | พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, พระมหาประกาศิต สิริเมโธ |
Publisher | สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ (สนว.) |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 17-33 |
Keyword | ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม, ส่งเสริมการท่องเที่ยว, วิถีพุทธ |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir |
ISSN | 3027-6446 |
Abstract | บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภูมิศาสตร์วัฒนธรรมในการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาภูมิศาสตร์วัฒนธรรมในการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 3) เพื่อถอดบทเรียนการจัดภูมิสถาปัตย์การท่องเที่ยววิถีพุทธของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาภูมิศาสตร์วัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการผสมผสานระหว่างธรรมชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่มีคุณค่าและยั่งยืน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เยี่ยมชมสัมผัสถึงความสงบสุข ศรัทธา และการเรียนรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาในบริบทของพื้นที่ที่เป็นเอกลักษณ์ การวิจัยนี้มุ่งเน้นวัดสำคัญ 4 แห่ง ได้แก่ วัดถ้ำมังกรทอง วัดถ้ำเขาแหลม วัดถ้ำมุณีนาถ และวัดถ้ำเขาปูน ซึ่งแต่ละวัดมีความโดดเด่นในด้านภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับท้องถิ่น การพัฒนาและออกแบบภูมิศาสตร์วัฒนธรรมในการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธมีองค์ประกอบสำคัญ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านทรัพยากรท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ความสำคัญเกี่ยวกับพุทธศาสนา การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน การบริการนักท่องเที่ยว การมีส่วนร่วมของชุมชน และการสร้างจิตสำนึกแก่ผู้เกี่ยวข้อง การถอดบทเรียนและสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยววิถีพุทธถูกเรียกว่า "ภูมิทัศน์การท่องเที่ยววัดตามวิถีอริยสัจ 4" โดยแบ่งวัดตามหลักอริยสัจ 4 คือ วัดถ้ำมังกรทอง (ทุกข์) วัดถ้ำเขาแหลม (สมุทัย) วัดถ้ำมุนีนาถ (นิโรธ) และวัดถ้ำเขาปูน (มรรค) ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยให้การพัฒนาภูมิศาสตร์วัฒนธรรมสามารถอนุรักษ์และเผยแพร่คุณค่าทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนา ช่วยเสริมสร้างศรัทธาและสั่งสมบุญให้กับผู้มาเยือนในอนาคต |