![]() |
การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ด้วยการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยรูปแบบ STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กำธร คงอรุณ |
Title | การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ด้วยการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยรูปแบบ STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
Publisher | สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ (สนว.) |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 320-336 |
Keyword | ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยรูปแบบ STAD, กระบวนการแก้ปัญหา DAPIC |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir |
ISSN | 3027-6446 |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยรูปแบบ STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC ที่พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยรูปแบบ STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รูปแบบการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา) จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 20 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม ใช้รูปการวิจัยเชิงปฏิบัติการจำนวน 3 วงจร เวลา 9 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยรูปแบบ STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC ที่พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีประเด็นที่ควรเน้น ได้แก่ การทบทวนความรู้เดิมเพื่อให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมไปสู่เนื้อหาใหม่ได้ การนำเสนอสถานการณ์ปัญหาควรเป็นสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงของนักเรียน การแบ่งกลุ่มควรคละความสามารถหรือคละเพศของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถทำงานร่วมกันได้ การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเสริมแรงทางบวกเพื่อส่งเสริมเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 2) หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยรูปแบบ STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 90 |