![]() |
การพัฒนาชุดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ร่วมกับอิงสถานที่เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบ และเจตคติ ต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วีรภัฏศาสตรา ชมภู |
Title | การพัฒนาชุดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ร่วมกับอิงสถานที่เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบ และเจตคติ ต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 |
Contributor | กรัณย์พล วิวรรธมงคล, สัมฤทธิ์ มากสง |
Publisher | สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ (สนว.) |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 160-183 |
Keyword | ชุดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา, แนวคิดเชิงออกแบบ, แนวคิดอิงสถานที่เป็นฐาน, ทักษะการคิดเชิงระบบ, เจคติต่อสิ่งแวดล้อม |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir |
ISSN | 3027-6446 |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยาตามแนวคิดเชิงออกแบบร่วมกับอิงสถานที่เป็นฐาน 2) ศึกษาผลการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาทักษะการคิดเชิงระบบก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน และ 4) ศึกษาพัฒนาการเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียน เป็นการวิจัยประเภทการวิจัยและพัฒนา ตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 29 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา ตามแนวคิดเชิงออกแบบร่วมกับอิงสถานที่เป็นฐาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดเชิงระบบ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการคิดเชิงระบบ และ 5) แบบประเมินเจตคติต่อสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และ การทดสอบค่าที (Dependent Samples t–test)ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 4 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 เรื่องเหลือเชื่อ เนื้อเยื่อพืช เล่มที่ 2 ถอดรหัสบริษัทขนส่งอาหารของพืช เล่มที่ 3 ความมหัศจรรย์ของร่างกายพืช และ เล่มที่ 4 ห้องครัวของพืช มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.45/80.69 82.31/81.03 82.15/80.69 และ 82.39/81.72 ตามลำดับ และมีค่าประสิทธิภาพเฉลี่ยรวมเท่ากับ 81.16/80.71 2) ผลการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ทักษะการคิดเชิงระบบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นจากระดับพอใช้เป็นระดับดี ตามลำดับ และ 4) เจตคติต่อสิ่งแวดล้อมของผู้เรียนมีการพัฒนาขึ้นระหว่างเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากระดับพอใช้เป็นระดับดี |