การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในสถานการณ์โควิด 2019:กรณีศึกษา วัดใหญ่รัตนโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
รหัสดีโอไอ
Creator นพศักดิ์ นาคเสนา
Title การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในสถานการณ์โควิด 2019:กรณีศึกษา วัดใหญ่รัตนโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Contributor ยุทธพงษ์ ต้นประดู่, สาวิตร พงศ์วัชร์ , รินทร์ลภัส ชินวุฒิกุลกาญจน์4
Publisher สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ (สนว.)
Publication Year 2565
Journal Title วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
Journal Vol. 6
Journal No. 3
Page no. 683-697
Keyword การจัดการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, สถานการณ์โควิด 2019, วัดใหญ่รัตนโพธิ์จังหวัดนครศรีธรรมราช
URL Website https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/issue/view/16979
ISSN 2730-1672 (Online)
Abstract บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติของวัดใหญ่รัตนโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในสถานการณ์โควิด 2019 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดและทฤษฎีด้านการท่องเที่ยว การอนุรักษ์ การพัฒนาและการสร้างสรรค์เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือวัดใหญ่รัตนโพธิ์ ตำบลหมอกลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ ผู้มีส่วนได้-เสีย รวมทั้งสิ้น 30 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) ผู้ที่อยู่ในชุมชนที่มีความรู้จริง 2) ผู้ที่ประกอบกิจการที่มีความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวบริเวณวัดที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 2019 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แบบสังเกต (แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม) 2) ประเด็นสัมภาษณ์ (แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง)3) ประเด็นสนทนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบด้วย การจำแนกข้อมูลจากกลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ กลุ่มผู้มีส่วนได้-เสีย วิเคราะห์ความถูกต้อง ความสมเหตุสมผล ความเชื่อมโยงตามหลักวิทยาศาสตร์ จากนั้นเขียนบรรยายเชิงพรรณนาโดยใช้ภาพประกอบและอ้างอิงการสัมภาษณ์ที่สำคัญ ผลการวิจัยพบว่า1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า วัดใหญ่รัตนโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีอายุหลายร้อยปี (ไม่มีบันทึกเป็นอักษร) ในอดีตเป็นวัดร้างและเป็นแหล่งอารยะธรรมชุมชนโบราณก่อนที่จะก่อตั้งเมืองนครศรีธรรมราช (โมคลานตั้งก่อน นครตั้งหลัง) ได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2493 ปัจจุบันกำลังพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ เนื่องจากค้นพบวัตถุโบราณจำนวนมาก 2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในสถานการณ์โควิด 2019 ชาวชุมชนวัดใหญ่รัตนโพธิ์ใช้การประชาสัมพันธ์ลักษณะบอกต่อด้านมาตรการการป้องกันตนเองก่อนเข้าวัดเพื่อสนองนโยบายภาครัฐ โดยเป็นการช่วยเหลือกันเองภายในชุมชนเพราะรัฐบาลไม่มีกำลังในการสนับสนุนอย่างเข้มงวด ชาวชุมชนเน้นการสร้างจิตสำนึกและการให้ความร่วมมือของนักท่องเที่ยวเช่น การเว้นระยะห่าง กินร้อน ช้อนเดี่ยว ล้างมือและการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่ออยู่ในพื้นที่วัดใหญ่รัตนโพธิ์ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ กลุ่มผู้รู้ ผู้ปฏิบัติและกลุ่มผู้มีส่วนได้-เสีย มีแนวคิดร่วมกันโดยสรุปด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการปรับตัวในสถานการณ์โควิด 2019 สามารถบูรณาการด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมซึ่งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง อีกทั้งการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวฝั่งอ่าวไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างสัมพันธภาพเชิงบวกระหว่างภูมิภาคต่างๆ ของโลก รวมทั้งการผลิตสินค้าที่ระลึก โดยหน่วยงานเศรษฐกิจท้องถิ่นสามารถสนับสนุนให้เกิดการสร้างเศรษฐกิจระดับจุลภาคซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับมหภาคอย่างยั่งยืน
สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ (สนว.)

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ