![]() |
รูปแบบการยอมรับการบริหารองค์การของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัล |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อิริยา ผ่องพิทยา |
Title | รูปแบบการยอมรับการบริหารองค์การของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัล |
Publisher | สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ (สนว.) |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย |
Journal Vol. | 6 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 666-682 |
Keyword | รูปแบบการยอมรับ, การบริหารองค์การ, การขยายตัวเศรษฐกิจดิจิทัล |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/issue/view/16979 |
ISSN | 2730-1672 (Online) |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)วิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการยอมรับการบริหารองค์การของบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัล 2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการยอมรับการบริหารองค์การของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณนี้กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย บุคคลของบริษัทจำนวน 400 คน ที่ทำงานอยู่กับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เครื่องมือของการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามชนิดที่ผู้ตอบกรอกข้อความเองจำนวนหนึ่ง ข้อมูลที่เก็บได้ทำการวิเคราะห์โดยการใช้สถิติพรรณนา และโมเดลสมการโครงสร้างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น ข้อมูลที่ต้องการได้มาจากเอกสารต่างๆ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้รู้เรื่องมี 8 ท่าน ผู้รู้เรื่องเหล่านี้ซึ่งเป็นผู้บริหารของบริษัททั้งหมดถูกคัดเลือกโดยจงใจ เครื่องมือที่ใช้ คือ แนวในการสัมภาษณ์ซึ่งโครงสร้างข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้มาวิเคราะห์โดยการแปลความเชิงวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าสถิติขององค์ประกอบของรูปแบบการยอมรับของการบริหารองค์การสิ่งแวดล้อมภายใน สิ่งแวดล้อมภายนอก ปัจจัยเงื่อนไขที่สนับสนุนและปัจจัยการยอมรับมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าสถิติมีความสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินทุกค่า 2)หลังจากที่ได้ตรวจสอบขนาดของความมีอิทธิพลโดยตรงและมีอิทธิพลต่อรูปแบบการยอมรับการบริหารองค์การมากที่สุดได้แก่ ปัจจัยเงื่อนไขสนับสนุนตามมาด้วยปัจจัยภายใน นอกจากนั้นยังพบว่าปัจจัยภายในมีอิทธิพลทางอ้อมต่อรูปแบบการยอมรับการบริหารองค์การโดยผ่านทางปัจจัยเงื่อนไขสนับสนุนโดยมีระดับนัยสำคัญเชิงสถิติที่ 0.001 กล่าวโดยรวมรูปแบบการยอมรับการบริหารองค์การเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัลได้รับอิทธิพลของปัจจัยทั้งหมดเท่ากับ 0.779 โดยมีระดับนัยสำคัญเชิงสถิติที่ 0.001 ในประการสุดท้ายพบว่าข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้รู้เรื่องมี 8 ท่าน มีความสอดคล้องกับสิ่งที่ค้นพบที่ได้จากการวิจัยเชิงปริมาณอย่างมากที่สุด |