![]() |
การศึกษาคำสอนในพิธีกรรมมะม๊วตกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ ที่สัมพันธ์กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ยโสธารา ศิริภาประภากร |
Title | การศึกษาคำสอนในพิธีกรรมมะม๊วตกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ ที่สัมพันธ์กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา |
Contributor | สุริยา คลังฤทธิ์, เกริกวุฒิ กันเที่ยง, น้ำฝน จันทร์นวล |
Publisher | Department of Strategics for Improving Education Quality, Surindra Rajabhat University |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ |
Journal Vol. | 3 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 55-72 |
Keyword | คำสอนในพิธีกรรมมะม๊วต, พระพุทธศาสนา, ชาวไทยเชื้อสายเขมร |
URL Website | https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jasrru |
Website title | วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ |
ISSN | ISSN 2822-0870 (Print), ISSN 2822-0889 (Online) |
Abstract | การศึกษาคำสอนในพิธีกรรมมะม๊วต กลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ ที่สัมพันธ์กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา วัตถุประสงค์ในการศึกษา (1) เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมมะม๊วต กลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ (2) เพื่อศึกษาคำสอนในพิธีกรรมมะม๊วตที่สัมพันธ์กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตการณ์ การเข้าร่วมในพิธีกรรม พื้นที่วิจัยชุมชนบ้านศาลาสามัคคี ตำบลบ้านชบ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มประชากรทั้งหมด 29 คน ผลการวิจัย ความเชื่อและพิธีกรรมมะม๊วตกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมร มีคติความเชื่อในอำนาจดวงวิญญาณ และการให้คุณและโทษ องค์รวมของพิธีกรรมจะมี รูปแบบ ขั้นตอน จะมีอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มชาวไทยเขมร มีการรักษาสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น พิธีกรรมมีบทบาทต่อการบำบัดรักษาผู้เจ็บป่วย และการทำนายเหตุการณ์ เป็นต้น ด้านคำสอนในพิธีกรรมมะม๊วตที่สัมพันธ์กับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา จากการวิเคราะห์คำสอน ที่ปรากฏในพิธีกรรมมะม๊วต ได้พบคำสอน ดังนี้ (1) บุญกิริยาวัตถุ การทำทาน, การรักษาศีล, การสวดมนต์ ที่ปรากฏในตัวผู้นำพิธีกรรมที่เป็นการกระทำและข้อปฏิบัติด้วย (2) ความกตัญญูกตเวที ที่ปรากฏในตัวผู้นำพิธีกรรม และผู้ร่วมประกอบพิธีเป็นข้อปฏิบัติระหว่างผู้นำ-ผู้ร่วม จะแสดงออกในพิธีกรรมและการระลึกถึงคุณงามความดี (3) การบูชา ที่ปรากฏในตัวผู้นำพิธีกรรมและผู้ร่วมประกอบพิธีเป็นข้อปฏิบัติระหว่างผู้นำ-ผู้ร่วม จะแสดงออกในพิธีกรรมและเคารพบูชาต่อดวงวิญญาณ (4) หลักไตรลักษณ์ ให้ความหมายถึงกฏของลักษณะ 3 ประการ หมายถึงข้อกำหนด สิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวง 3 อย่าง คือ 4.1 อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) 4.2. ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) 4.3 อนัตตตา (อนัตตลักษณะ) |