![]() |
ประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาขั้วแคโทดระหว่าง Ag/C กับ AgMnxOy/C สำหรับเซลล์เชื้อเพลิงแอลคาไลน์น้ำตาลกลูโคสแบบไม่มีเยื่อเลือกผ่าน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | จักรพงศ์ ไชยบุรี |
Title | ประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาขั้วแคโทดระหว่าง Ag/C กับ AgMnxOy/C สำหรับเซลล์เชื้อเพลิงแอลคาไลน์น้ำตาลกลูโคสแบบไม่มีเยื่อเลือกผ่าน |
Contributor | กันทรากร สุวรรณรักษา, สิตานันท์ บุญยอด |
Publisher | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | Journal of Applied Research on Science and Technology (JARST) |
Journal Vol. | 21 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 126-136 |
Keyword | เซลล์เชื้อเพลิงอัลคาไลน์, กลูโคส, ปฏิกิริยารีดักชัน, ขั้วแคโทด, เซลล์เชื้อเพลิง |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/ |
Website title | https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rmutt-journal/index |
ISSN | 2773-9376 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อนำมาใช้ในเซลล์เชื้อเพลิงอัลคาไลน์สารละลายกลูโคสแบบไม่มีเยื่อเลือกผ่าน โดยเชื้อเพลิงสารละลายกลูโคสเป็นกลุ่มโพลีแอลกอฮอล์ สารละลายกลูโคสสามารถพัฒนาเพื่อใช้ในการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยข้อดีของสารละลายกลูโคสคือ เป็นพลังงานทดแทนที่หมุนเวียนได้ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้สารละลายกลูโคสเหมาะสมสำหรับการพัฒนาเพื่อใช้ในเชื้อเพลิงอัลคาไลน์ จากการศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับขั้วแคโทดเพื่อนำมาใช้ในเซลล์เชื้อเพลิงสารละลายกลูโคสแบบไม่มีเยื่อเลือกผ่านในงานวิจัยนี้ คือตัวเร่งปฏิกิริยา AgMnxOy/C ซึ่งสามารถทนทานต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารละลายกลูโคส เนื่องมาจากการเจือด้วยเชื้อเพลิงสารละลายกลูโคส และทดสอบประสิทธิภาพของเซลล์เชื้อเพลิงอัลคาไลน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงสารละลายกลูโคสที่ความเข้มข้น 0.1 โมลาร์ สำหรับขั้วแอโนดของงานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยา PdNi/C โดยการสังเคราะห์ธาตุ Ni มาผสมกับธาตุ Pd ในอัตราส่วน Atomic ratio 1:1 จากผลการทดลองการทำงานของเซลล์เชื้อเพลิงอัลคาไลน์ป้อนกลูโคสโดยตรงแบบไม่มีเยื่อเลือกผ่าน (A Direct Glucose Membraneless Alkaline Fuel Cells (DGMAFC)) การเปรียบเทียบระหว่าง ตัวเร่งปฏิกิริยา PdNi/C เป็นขั้วแอโนด และตัวเร่งปฏิกิริยา AgMnxOy/C เป็นขั้วแคโทดแสดงค่าความหนาแน่นกำลังไฟฟ้ามากกว่าตัวเร่งปฏิกิริยา PdNi/C เป็นขั้วแอโนด และตัวเร่งปฏิกิริยา Ag/C เป็นขั้วแคโทด ร้อยละ 77.30 ดังนั้นการเลือกใช้สารละลายกลูโคสซึ่งเป็นวัตถุดิบสามารถพัฒนาเป็นพลังงานทดแทนที่หมุนเวียนได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านพลังงาน โดยทำการศึกษาลักษณะทางกายภาพ อัตราส่วนของโลหะผสม และการศึกษาปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชันของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเทคนิค Scanning Electron Microscopy (SEM), Energy Dispersive X-Ray Spectroscopy (EDS) และ Cyclic Voltammetry (CV) |