การศึกษาหาบริเวณที่มาของ PM2.5 จากการวิเคราะห์ข้อมูลระยะสั้นด้วยเทคนิค Bivariate Polar Plot ณ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย
รหัสดีโอไอ
Creator ศิรพงศ์ สุขทวี
Title การศึกษาหาบริเวณที่มาของ PM2.5 จากการวิเคราะห์ข้อมูลระยะสั้นด้วยเทคนิค Bivariate Polar Plot ณ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย
Contributor รัชตวรรณ เกตุวัง, อดุลย์เดช ปัดภัย, นิรัน เปี่ยมใย
Publisher สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Publication Year 2565
Journal Title Journal of Applied Research on Science and Technology (JARST)
Journal Vol. 21
Journal No. 2
Page no. 66-78
Keyword PM2.5, แหล่งกำเนิด, คุณภาพอากาศ, BVP, อำเภอบ้านไผ่
URL Website https://www.tci-thaijo.org/
Website title https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rmutt-journal/index
ISSN 2773-9376
Abstract ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นปัญหาที่ทั่วโลกและประเทศไทยให้ความสำคัญ ในประเทศไทยได้มีการศึกษาสัดส่วนของประเภทแหล่งกำเนิด ปัจจัยอุตุนิยมวิทยา การแพร่กระจาย และผลกระทบต่อสุขภาพ ในขณะที่การหาบริเวณที่มาของแหล่งกำเนิด PM2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนหรือคุณภาพอากาศ ณ จุดตรวจวัดเป็นสิ่งจำเป็นที่จะบ่งชี้ให้เห็นถึงพื้นที่ที่ควรมีมาตรการบริหารจัดการเป็นลำดับต้น ปัจจุบันนี้มีเทคนิคทางสถิติ Bivariate Polar Plot (BVP) ที่นำมาใช้ระบุหาพื้นที่ที่มาของแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ ซึ่งการใช้เทคนิคนี้ในประเทศไทยยังมีปรากฏไม่มากและไม่พบการศึกษาในพื้นที่เมืองขนาดเล็กที่มีแหล่งกำเนิดหลายประเภทกระจายอยู่โดยรอบจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศและฝุ่นละออง นอกจากนี้การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลตรวจวัดคุณภาพอากาศโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นการใช้ข้อมูลตรวจวัดระยะเวลายาว ผลการศึกษาจากการตรวจวัด 13 วัน ณ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ในครั้งนี้ พบว่ามีค่าความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 เกิน 50 µg/m3 ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของประเทศไทยและเป็นค่าเป้าหมายระหว่างทางระดับที่ 2 (IT-2) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) จำนวน 6 วัน และแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงระดับความเข้มข้นที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยอุตุนิยมวิทยาและความเสถียรของบรรยากาศ รวมทั้งประสบผลสำเร็จในการใช้เทคนิค BVP เพื่อบ่งชี้บริเวณแหล่งที่มาของ PM2.5 ได้ โดยบริเวณพื้นที่สำคัญที่ทำให้ระดับค่าความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 ณ จุดตรวจวัดคุณภาพอากาศมีค่าเพิ่มขึ้นมาจากถนนทางด้านทิศเหนือ บริเวณตัวเมืองอำเภอบ้านไผ่ และการเผาในที่โล่งในบริเวณทางด้านทิศตะวันออก มากกว่าแหล่งกำเนิดที่อยู่ในบริเวณทางด้านใต้ของจุดตรวจวัด
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ