![]() |
การพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนการเกษตรด้วยข้อมูล |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | นิติศักดิ์ เจริญรูป |
Title | การพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนการเกษตรด้วยข้อมูล |
Contributor | วรีวรรณ เจริญรูป, สิทธิชัย จีนะวงษ์, สุจิตรา จีนะวงษ์ |
Publisher | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | Journal of Applied Research on Science and Technology (JARST) |
Journal Vol. | 21 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 50-65 |
Keyword | การวิเคราะห์ข้อมูล, การสำรวจระยะไกล, ดัชนีความแตกต่างพืชพรรณ, ดัชนีความแตกต่างความชื้น, การแปลงค่าแทสเซิลแคป |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/ |
Website title | https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rmutt-journal/index |
ISSN | 2773-9376 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ร่วมกับการสำรวจระยะไกล ในการจัดทำฐานข้อมูลพันธุ์พืชอนุรักษ์ โครงการ อพ.สธ.- มทร.ล้านนา เพื่อจัดเก็บข้อมูลพื้นที่ปลูกมันพื้นบ้าน จังหวัดเชียงราย ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์พันธุ์พืช การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูล โดยใช้โปรแกรม QGIS ร่วมกับการประมวลผลภาพราสเตอร์ ด้วยภาษา R และนำเสนอด้วย Microsoft Power BI ซึ่งฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยข้อมูลมันพื้นบ้าน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ตำแหน่งที่ปลูก ช่วงเวลาการปลูก ช่วงเวลาการให้ผลผลิต เกษตรกรผู้ปลูก การใช้ประโยชน์ (อาหารหรือการแพทย์) ชนิดของดินในบริเวณที่ปลูก สภาพอากาศ และแบบจำลองความสูงเชิงเลขของพื้นที่ปลูก รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการสำรวจระยะไกล ได้แก่ ดัชนีความแตกต่างพืชพรรณ ดัชนีความแตกต่างพืชพรรณสีเขียว ดัชนีความแตกต่างความชื้น และการแปลงค่าแทสเซิลแคป ที่ประกอบไปด้วยค่าความสว่าง ค่าความเขียวและค่าความชื้น เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมจากการพัฒนาฐานข้อมูล เพื่ออธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ปลูกมันพื้นบ้าน จังหวัดเชียงราย จากภาพถ่ายทางอากาศ ในช่วงเดือน มกราคม – เมษายน ย้อนหลัง 5 ปี (2560-2564) ผลการวิเคราะห์พบว่า ค่าแนวโน้มดัชนีความแตกต่างพืชพรรณ ดัชนีความแตกต่างพืชพรรณสีเขียวและค่าความเขียว ที่บ่งบอกถึงการปกคลุมของพืชในบริเวณพื้นที่สำรวจมีแนวโน้มลดลง และค่าดัชนีความแตกต่างความชื้นและค่าความชื้นมีแนวโน้มลดลง จากผลการวิเคราะห์ดังกล่าวอาจส่งผลต่อความสมบูรณ์ของพืชและการสูญสิ้นของพันธุ์พืช ดังนั้น การพัฒนาฐานข้อมูลข้างต้นจะสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจหาแนวทางในการอนุรักษ์พันธุ์พืชได้ในอนาคต |